Home » Research » Research Interest Groups

งานด้านการถ่ายภาพเอกซเรย์ทั่วไป

img1

สาขารังสีวิทยาวินิจฉัยเริ่มต้นการตรวจทางเอกซเรย์โดยการใช้เครื่อง เอกซเรย์ที่ใช้หลอดเอกซเรย์ชนิด“Gas tube” และต่อมาก็มีเครื่องเอกซเรย์ชนิด “Bucky” จากนั้นเครื่องถ่ายภาพเอกซเรย์ได้มีการพัฒนาหลอดเอกซเรย์ที่มีประสิทธิภาพ มากขึ้นรวมถึงระบบรับภาพที่พัฒนาจากระบบscreen-film มาเป็นระบบcomputed radiography (CR) ในยี่ห้อและรุ่นต่างๆ (เช่นFuji รุ่นFCR 5000, FCR XG 5000, FCR XU-D1และAgfa รุ่นCR 25.0, CR 75.0) และ digital radiography (DR) ในยี่ห้อและรุ่นต่างๆ (เช่น Canon รุ่นCXDI 40 G, รุ่นCXDI 50 C, Siemens รุ่นAXIOM Aristos, Philips รุ่นDigital Diagnost, CareStream Health รุ่นDRX-1, Konica รุ่นAeroDR, Shimadzu รุ่นRadspeed DR และSamsung รุ่นXGEO GC 80) ตามลำดับในปัจจุบันซึ่งงานการถ่ายภาพรังสีทั่วไปนี้หมายรวมถึงการถ่ายภาพ รังสีทั่วไปชนิดเคลื่อนที่ (Mobile Radiograph) ซึ่งเครื่องมือชนิดนี้ก็มีวิวัฒนาการมาจากระบบแอนะล็อกเป็นระบบดิจิทัล พร้อมๆกับเครื่องชนิดติดตั้งกับที่ (Fixed Radiographic Unit) เช่นกัน

img2

สำหรับระบบการสร้างภาพเอกซเรย์ของสาขารังสีวิทยาวินิจฉัยมีการพัฒนาจาก การใช้งานระบบล้างฟิล์มด้วยมือ (manual film processor) มาเป็นระบบล้างฟิล์มอัตโนมัติ (automatic film processor) ซึ่งมีทั้งระบบที่ต้องใช้ห้องมืด (เช่นKodak รุ่นM35, M6B, 5000 RA และ3M รุ่นXP-515) และระบบ day light automatic film processor (เช่นKodak รุ่นML-700 Plus) ต่อมาภายหลังระบบการพิมพ์ภาพลงฟิล์มมีวิวัฒนาการเป็นระบบพิมพ์ภาพลงฟิล์ม ด้วยแสงเลเซอร์ (laser wet or laser dry film and printer เช่นFuji รุ่นFL-IMD, Konica รุ่นLI-10A, Agfa รุ่นLR 2100, Kodak รุ่น2180 LP, Kodak รุ่นDryView 8900, Fuji รุ่นDrypix 4000และรุ่นDrypix 7000, Konica รุ่นDryPro 751และรุ่นDryPro 793) และระบบพิมพ์ภาพลงฟิล์มด้วยความร้อน (thermal dry film and printer เช่น Agfa รุ่นDryStar 5500) ซึ่งทั้งสองระบบนี้จะใช้ควบคู่กับระบบการถ่ายภาพที่เป็นระบบดิจิทัลทั้ง ระบบCR และDR

การพัฒนาจากระบบแอนะล็อกไปเป็นระบบดิจิทัลนับได้ว่าเป็นรูปแบบการพัฒนา ที่มีประโยชน์โดยตรงกับผู้รับและผู้ให้บริการกล่าวคือทำให้ระยะเวลาในการรอ คอยภาพและผลการตรวจลดลงสามารถลดการถ่ายภาพรังสีซ้ำอันเนื่องมาจากการให้ ปริมาณรังสีมากหรือน้อยเกินไปได้สามารถลดการใช้สารเคมีในการสร้างภาพซึ่งทำ ให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นอีกทั้งยังสามารถบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น