การตรวจทางด้านFluoroscopy เป็นการตรวจเอกซเรย์ที่ใช้ดูการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆภายในร่างกายและ เมื่อใช้ร่วมกับการใช้สารทึบรังสีก็จะสามารถมองเห็นพยาธิสภาพต่างๆภายในร่าง กายได้ดียิ่งขึ้นเช่นระบบทางเดินอาหารซึ่งสาขารังสีวิทยาวินิจฉัยได้ใช้ ระบบSpot film device ยี่ห้อSiemens เป็นแห่งแรกในประเทศไทยโดยระบบรับภาพในยุคแรกๆนั้นจะใช้การดูภาพจาก intensifying screen โดยตรงต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นระบบimage intensifier ที่ต่อเชื่อมเข้ากับระบบจอโทรทัศน์ (Shimadzu รุ่นUD-150L, IDR-700/IA-16 VM, Siemens รุ่นSireskop Sx, Sireskop 5-45และToshiba รุ่นKXO-80N/ EPS-30/DTA-400) หลังจากนั้นชุดimage intensifier ได้มีการพัฒนาให้ต่อเชื่อมเข้ากับอุปกรณ์รับและแปลงสัญญาณภาพเป็นระบบดิจิ ทัลซึ่งได้แก่ระบบ CCD (Charge couple devices เช่นToshiba รุ่นKalare ที่อาคารสก. ชั้น4และSiemens รุ่น AXOIM Luminos TF ที่อาคารภปร. ชั้น4) ในปัจจุบัน ระบบรับภาพที่นำมาใช้งานการตรวจFluoroscopy บางส่วนในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้เปลี่ยนมาใช้ flat panel detector (Philips รุ่นMulti Diagnost ที่อาคารภปร. ชั้น4และที่อาคาร14ชั้นและ Siemens AXOIM Luminos Agile ที่อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ชั้น2) เสียเป็นส่วนใหญ่แล้ว
เครื่องตรวจ fluoroscopy ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นระบบดิจิทัล
สำหรับงานทางด้านIVP เดิมตั้งอยู่ที่อาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ – สุพิณชั้น1โดยมี1 ห้องตรวจประกอบด้วยเตียงตรวจจำนวน2เตียงเครื่องเอกซเรย์ในขณะนั้นใช้ ยี่ห้อPhilips ซึ่งห้องนี้ติดอยู่กับห้องTomography ซึ่งมีเครื่องTomogramยี่ห้อPhilips ห้องตรวจIVP นี้อยู่ติดกับอาคารอภันตรีปชาเดิมซึ่งมีห้องอ่านฟิล์มใหญ่และห้องเอกซเรย์ ผู้ป่วยในซึ่งในขณะนั้นเราเรียกกันอย่างคุ้นเคยว่าห้องเบอร์3-เบอร์5และภาย หลังได้มีการสร้างอาคารอภันตรีปชาขึ้นใหม่จึงได้ย้ายการตรวจIVP ผู้ป่วยในไปยังอาคารสวัสดิ์ – ล้อมโอสถานุเคราะห์ชั้น1 (บริเวณที่ตั้งเครื่องPET-CT ในปัจจุบัน) และย้ายการตรวจIVP ผู้ป่วยนอกไปยังอาคารภปร. ชั้น4ต่อมาเมื่อมีการปรับปรุงพื้นที่ของการตรวจIVP ผู้ป่วยในเพื่อที่จะติดตั้งเครื่องPET-CT จึงได้ย้ายการตรวจIVP ผู้ป่วยในไปตรวจร่วมกับการตรวจIVP ผู้ป่วยนอกที่อาคารภปร. ชั้น4นับแต่นั้นเป็นต้นมา