Home » Research » Research Interest Groups

หน่วยเอกซเรย์เต้านม

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2548 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำพิธีเปิดศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถ

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2548 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำพิธีเปิดศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถ

แต่เดิมนั้นการถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมใช้เทคนิคการถ่ายภาพโดยอาศัยเครื่อง ถ่ายภาพเอกซเรย์ทั่วไปและ ยังไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากคุณภาพของภาพเอกซเรย์ยังไม่ดีพอ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2526 ได้มีการจัดซื้อเครื่อง เอกซเรย์เต้านม โดยเฉพาะและทำการติดตั้งที่อาคารสวัสดิ์ – ล้อม โอสถานุเคราะห์ ชั้น 1 ซึ่งเป็นเครื่อง C-arm และทำการถ่ายภาพโดยไม่มีการบีบเต้านม

ในปี พ.ศ. 2532 ได้มีการจัดซื้อเครื่องเอกซเรย์เต้านมและติดตั้งที่อาคาร ภปร. ชั้น 4 เพื่อให้บริการผู้ป่วยนอก ซึ่งเป็นเครื่องเอกซเรย์เต้านมที่ทำการตรวจโดยมีการกดทับเต้านมเป็นเครื่อง แรก (ยี่ห้อ Hitachi รุ่น Soredex)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการจัดซื้อและติดตั้งเครื่องที่อาคาร ภปร. 4 อีก 1 เครื่อง ยี่ห้อ GE รุ่น Senographe DMR

ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการขนย้ายเครื่องเอกซเรย์เต้านมทั้งสองเครื่องไปติดตั้งที่อาคารล้วน – เพิ่มพูลว่องวานิช ชั้น 2 ต่อมาในปีเดียวกัน สาขารังสีวิทยาวินิจฉัยได้ทำการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์เต้านมชนิดพิเศษที่ สามารถชี้ตำแหน่ง พยาธิสภาพ โดยอาศัยเส้นลวดในการชี้ตำแหน่งระหว่างการผ่าตัด (Mammography with Stereotaxis ยี่ห้อ Bennett รุ่น Contour 2 mammograph) ซึ่งเป็นการตรวจโดยการถ่ายภาพรังสี 2 ภาพที่มุมต่างกันและคำนวณ ค่าในแนวแกน x y z ที่ตำแหน่งรอยโรคก่อนแทงเข็มโดยเครื่องนี้ได้ทำการติดตั้งที่ห้องผ่าตัด อาคาร ภปร. ชั้น 5 เพื่อถวายการผ่าตัดสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และต่อมาจึงทำการย้ายมาที่อาคารล้วน – เพิ่มพูล ว่องวานิช ชั้น 2 ดังนั้นการให้บริการการตรวจเอกซเรย์เต้านมในขณะนั้น จึงมีทั้งที่อาคาร ภปร. ชั้น 4 และที่อาคารล้วน – เพิ่มพูล ว่องวานิช ชั้น 2 ต่อมาจึงย้ายเครื่องเอกซเรย์เต้านมจากอาคาร ภปร. ชั้น 4 มาอยู่ที่อาคารล้วน – เพิ่มพูล ว่องวานิช ชั้น 2 เมื่อปี พ.ศ. 2539 เพื่อให้การบริการการตรวจเต้านมรวมไว้ที่จุดจุดเดียว

เครื่อง X-RAY TOMOSYNTHESIS- แมมโมแกรมเต้านม

เครื่อง X-RAY TOMOSYNTHESIS-แมมโมแกรมเต้านม

ในปี พ.ศ. 2543 ได้มีการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิทัล (GE รุ่น Senographe 2000D) เพื่อทดแทน เครื่องยี่ห้อ Hitachi รุ่น Soredex ซึ่งเครื่อง GE รุ่น Senographe 2000D นับเป็นเครื่องแรกของทวีปเอเชีย ทำให้ได้ คุณภาพของภาพการตรวจวินิจฉัยที่ดีมากยิ่งขึ้น

ในปี พ.ศ. 2544 ได้มีการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์ Digital Stereotactic System (Lorad รุ่น Multicare) ซึ่งเป็น เครื่องที่ใช้ในการชี้ตำแหน่งรอยโรคก่อนการผ่าตัดโดยการใส่ลวด (wire localization guidance) โดยให้ผู้ป่วยนอน บนเตียงในท่านอนคว่ำพร้อมเครื่องตัดดูดเนื้อเยื่อเต้านมด้วยระบบสุญญากาศโดย แทงเข็มเพียงครั้งเดียว (Mammotome)

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2548 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำพิธีเปิดศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถ ซึ่งเป็นศูนย์ที่ประกอบด้วย ศัลยแพทย์ อายุรแพทย์ด้านมะเร็งวิทยา แพทย์รังสีรักษา รังสีแพทย์วินิจฉัย และพยาธิแพทย์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมได้รับการบริการการวินิจฉัยและรักษาที่ดีที่สุด ดังพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ว่า “ฉันอยากให้ศูนย์นี้เป็นที่พึ่งของผู้หญิง

ในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์เต้านมระบบ 3 มิติ (Digital Breast Tomosynthesis ยี่ห้อ Hologic Lorad รุ่น Selenia Dimension) เป็นเครื่องแรกของโลก ซึ่งเป็นเครื่องที่สามารถให้ความละเอียดของภาพทุกๆ 1 มิลลิเมตร เพิ่มศักยภาพในการวินิจฉัยที่ดีและถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ในปี พ.ศ. 2552 ได้มีการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์ Digital Stereotactic System (ยี่ห้อ Hologic Lorad รุ่น Selenia) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้ในการชี้ตำแหน่งรอยโรคก่อนการผ่าตัดโดยการใส่ลวด (Wire Localization Guidance) โดยให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งพร้อมเครื่องตัดดูดเนื้อเยื่อเต้านมด้วยระบบ สุญญากาศ โดยแทงเข็มเพียงครั้งเดียว (Vacuum Assisted Biopsy) ที่สามารถได้ปริมาณชิ้นเนื้อมาใช้ในการวิเคราะห์มากขึ้นและรวดเร็วขึ้น

ในปี พ.ศ. 2554 ศูนย์สิริกิติ์บรมราชินีนาถได้ทำการติดตั้งเครื่อง Dedicated Magnetic Resonance Imaging (เครื่องตรวจคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ออกแบบมาใช้ในการตรวจเต้านม โดยเฉพาะยี่ห้อ Siemens รุ่น MAGNETOM Espree Pink 1.5 T) เพิ่มเสริมศักยภาพการวินิจฉัยโรคเต้านมที่ดีขึ้น

ในปี พ.ศ. 2556 ได้ขยายบริการการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่อง Digital Mammography (Hologic Selenia) ที่หน่วยภาพวินิจฉัย อาคาร 14 ชั้น พร้อมด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์เต้านมที่มีเทคโนโลยีการตรวจ Elasticity ของเนื้อเยื่อด้วยวิธี 2D Shearwave Elastography (Supersonic รุ่น Aixplorer) และในช่วงปลายปี พ.ศ. 2556 ได้มีการติดตั้งและใช้งานเครื่อง Digital Mammography with Tomosynthesis (Hologic Selenia Dimension) อีก 1 เครื่องที่อาคารล้วน – เพิ่มพูล ว่องวานิช ชั้น 2