Home » Research » Research Interest Groups

หน่วยอัลตราซาวนด์

หน่วยอัลตราซาวนด์เริ่มมีการก่อตั้งครั้งแรกในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีรองศาสตราจารย์แพทย์หญิง คุณหญิงเกษร วัชรพงศ์ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งหน่วยนี้ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2523 มีสถานที่ตั้งอยู่ที่อาคารจุลจักรพงษ์ ชั้น 2 ซึ่งเครื่องอัลตราซาวนด์ ในขณะนั้นเป็นเครื่องอัลตราซาวนด์แบบ Static ยี่ห้อ Pho/Sonic®-SM Alpha model ต่อมาหน่วยอัลตราซาวนด์ได้ย้ายมาที่อาคารสวัสดิ์ – ล้อม โอสถานุเคราะห์ ชั้น 1 (ตำแหน่งห้องธุรการในปัจจุบัน) ซึ่งเครื่องอัลตราซาวนด์ที่ใช้ในขณะนั้นคือเครื่องอัลตราซาวนด์ยี่ห้อ Aloka รุ่น SSD 256, SSD 280

หน่วยอัลตราซาวนด์ อาคารสวัสดิ์ - ล้อม โอสถานุเคราะห์ ชั้น 1

หน่วยอัลตราซาวนด์ อาคารสวัสดิ์ – ล้อม โอสถานุเคราะห์ ชั้น 1

ต่อมาเมื่อมีการ ก่อสร้างอาคารล้วน – เพิ่มพูล ว่องวานิชแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ. 2531 – 2532 หน่วยอัลตราซาวนด์จึงได้แบ่งการให้บริการ ผู้ป่วยเป็น 2 จุด คือ ที่อาคาร ภปร. ชั้น 4 สำหรับการให้บริการผู้ป่วยนอก หน่วยอัลตราซาวนด์ อาคารสวัสดิ์ – ล้อม โอสถานุเคราะห์ ชั้น 1 ด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ยี่ห้อ Aloka รุ่น SSD 5000, SSD 1000 Philips รุ่น HDI 5000 Acuson รุ่น Sequioa 512 และในปัจจุบันเครื่องอัลตราซาวนด์ที่ใช้ในการตรวจผู้ป่วยนอกคือ Philips รุ่น iU 22 จำนวน 3 เครื่อง และ GE รุ่น Logiq 9 อีกจุดหนึ่งคือที่อาคารล้วน – เพิ่มพูล ว่องวานิช ชั้น 2 โดยใช้เครื่องร่วมกับหน่วยเอกซเรย์เต้านม โดยเน้นการตรวจผู้ป่วยในและผู้ป่วยที่มาตรวจอัลตราซาวนด์ระบบหลอดเลือดชนิด สี โดยเครื่องอัลตราซาวนด์ที่ใช้ตรวจ คือเครื่องอัลตราซาวนด์ยี่ห้อ GE รุ่น Logiq 9, Voluson 730 Expert ยี่ห้อ Aloka รุ่น SSD 7000 และยี่ห้อ Philips รุ่น HDI 5000 SonoCT ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 หน่วยอัลตราซาวนด์ (เฉพาะการตรวจผู้ป่วยในและผู้ป่วยที่มาตรวจ อัลตราซาวนด์ระบบหลอดเลือดชนิดสี) ได้ย้ายที่ทำการไปที่อาคารสวัสดิ์ – ล้อม โอสถานุเคราะห์ชั้น 1 (ติดกับห้อง PET-CT) จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ซึ่งเครื่องอัลตราซาวนด์ที่ใช้อยู่ในขณะนี้คือ เครื่องอัลตราซาวนด์ยี่ห้อ GE รุ่น Logiq 9 จำนวน 2 เครื่อง, Logiq E9 จำนวน 1 เครื่อง และยี่ห้อ Philips รุ่น iU22 สำหรับการตรวจผู้ป่วยฉุกเฉินนอกเวลาราชการ การ ตรวจทางด้านอัลตราซาวนด์เป็นการตรวจโดยอาศัยคลื่นเสียงความถี่สูง โดยอาศัยหัวตรวจที่สัมผัสกับผิวหนังบนร่างกาย โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ จึงนับเป็นการตรวจทางด้านวินิจฉัยที่เป็นที่นิยมวิธีหนึ่ง

สำหรับการตรวจทางด้านอัลตราซาวนด์สามารถใช้ตรวจอวัยวะต่างๆได้แก่ อวัยวะในช่องท้อง เต้านม สมองในเด็กแรก เกิด ระบบข้อและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้การตรวจทางอัลตราซาวนด์ยังได้ถูกพัฒนาเพื่อนำมาใช้ตรวจกับหลอด เลือดใน ร่างกายที่เรียกว่า Color Doppler Imaging ปัจจุบันนี้การตรวจทางด้านอัลตราซาวนด์มีการพัฒนาการตรวจที่ หลากหลายมากขึ้นไปอีก เช่น Power Doppler Imaging ที่เหมาะกับการตรวจดู การเคลื่อนไหวที่มีความเร็วต่ำโดย เฉพาะในการศึกษาหลอดเลือด การตรวจ Elastography ที่ใช้ในการดู stiffness ของเนื้อเยื่อ (ยี่ห้อ GE รุ่น Logiq 9, Philips รุ่น iU22 และ Supersonic รุ่น Aixplorer) ในการดูว่าเป็นเนื้อเยื่อปกติหรือผิดปกติ