Home » Research » Research Interest Groups

การตรวจทางด้านเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT)

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ยี่ห้อ Siemens รุ่น SOMATOM Definition Flash ที่อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 2

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
ยี่ห้อ Siemens รุ่น SOMATOM Definition
Flash ที่อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 2

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ได้เริ่มมีการใช้ครั้งแรกในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในปี พ.ศ. 2524 โดยเป็นเครื่อง แรกของโรงพยาบาลรัฐซึ่งเป็นเครื่อง Conventional CT แบบ Third Generation (GE 8800) ตั้งอยู่ที่อาคาร จุลจักรพงษ์ ชั้น 1 และใน ปี พ.ศ. 2531 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้รับการบริจาคเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบ Third Generation อีก 1 เครื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่น (Toshiba TCT-400) ซึ่งนับเป็นเครื่องที่ 2 ในปี พ.ศ. 2536 ได้มีการจัดซื้อ เครื่อง Conventional CT แบบ Third Generation (GE Sytec 4000) เพื่อทดแทนเครื่องแรก (GE 8800) และเมื่อมี การพัฒนาเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จาก Conventional CT เป็น Spiral CT สาขารังสีวิทยาวินิจฉัยจึงทำการติดตั้ง ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2540 (Siemens SOMATOM Plus 4) ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 สาขารังสีวิทยาวินิจฉัยได้พัฒนา งานทางด้านเอกซเรย์คอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่องตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่าง รวดเร็วโดยเปลี่ยนเครื่องที่มีอยู่เป็นเครื่อง Multidetector CT จำนวน 2 เครื่อง เป็นชนิด 4 detector-rows และ 16 detector-rows (Siemens SOMATOM Sensation 4 , Siemens SOMATOM Sensation 16) เพื่อทดแทนเครื่องเดิม ซึ่งทำให้สามารถเริ่มการ ตรวจที่มีความ หลากหลายมากขึ้น ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของหัวใจและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ (Cardiac & Coronary CT Angiography) การหาปริมาณหินปูนที่หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ การตรวจภายในของลำไส้ใหญ่ (CT Colonography) รวมทั้งการตรวจ 3 มิติของอวัยวะอื่นๆ และการตรวจ 4 มิติ (การบีบตัว) ของหัวใจ

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ยี่ห้อ Toshiba รุ่น Aquilion One, 640 slices ที่อาคารจุลจักรพงษ์ซึ่งจะย้ายไปที่อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 2

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ยี่ห้อ Toshiba รุ่น Aquilion One, 640 slices
ที่อาคารจุลจักรพงษ์ซึ่งจะย้ายไปที่อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 2

ในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด 320 detector-rows (Toshiba Aquilion One, 640 slices) เพื่อทดแทนเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด 4 detector-rows ซึ่งทำให้การตรวจทางด้านหัวใจและ หลอดเลือดดีขึ้น และยังเป็นการเพิ่มพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางด้านหลอดเลือดในสมอง ช่วยทำให้การวินิจฉัย ภาวะ stroke ดีขึ้น และนอกจากนี้ยังทำให้การตรวจวินิจฉัยในผู้ป่วยเด็กมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ในปี พ.ศ. 2555 ได้มีการทำธุรกรรมแบบ profit sharing กับบริษัท Transtek จำกัด ในการติดตั้งและใช้งาน เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด 64 detector-rows (Philips Brilliance 64) ที่หน่วยเอกซเรย์ฉุกเฉิน เพื่อให้บริการ ผู้ป่วยฉุกเฉินและหอผู้ป่วยรอบข้าง

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ยี่ห้อ GE รุ่น Discovery 750 HD ที่อาคาร 14 ชั้น

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ยี่ห้อ GE
รุ่น Discovery 750 HD ที่อาคาร 14 ชั้น

ในปี พ.ศ. 2556 สาขารังสีวิทยาวินิจฉัยได้ทำการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด Dual Energy (GE Discovery 750 HD) ทำให้เพิ่มขอบเขตการตรวจวินิจฉัยกว้างขึ้นโดยอาศัยความสามารถในการวิเคราะห์ ธาตุบางอย่าง ในร่างกาย เช่น ไอโอดีน แคลเซียม กรดยูริก เป็นต้น ทำให้เพิ่มศักยภาพ ในการวิเคราะห์ชนิดของนิ่วในระบบทางเดิน ปัสสาวะ ซึ่งช่วยให้ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะมีความมั่นใจในการเลือกชนิดของ การรักษา การวินิจฉัยโรคเกาต์ การตรวจทางด้าน perfusion ในสมอง และในปอดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้สาขารังสีวิทยาวินิจฉัยยังมี นโยบายที่จะลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับในการตรวจทางด้านเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์โดยอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น การใช้ Iterative Reconstruction

ในปี พ.ศ. 2557 จะทำการเคลื่อนย้ายเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิด 320 detector-rows (Toshiba Aquilion One, 640 slices) ไปยังอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 2 และทำการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่อง Siemens SOMATOM Sensation 16 เป็น Siemens SOMATOM Definition Flash