Home » Research » Research Interest Groups

งานด้านระบบการเก็บข้อมูลทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัย

ระบบศูนย์เก็บข้อมูลภาพทางการแพทย์ หรือ Picture Archiving Communication System (PACS) ที่ตึกนราธิป พงศ์ประพันธ์ - สุพิณ ชั้น 2

ระบบศูนย์เก็บข้อมูลภาพทางการแพทย์ หรือ Picture Archiving Communication System (PACS) ที่ตึกนราธิป พงศ์ประพันธ์ – สุพิณ ชั้น 2

ระบบการเก็บข้อมูลทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัย แต่เดิมนั้นถูกเก็บในรูปแบบของฟิล์มซึ่งฝ่ายรังสีวิทยามีแหล่ง เก็บฟิล์มกระจายอยู่ในจุดต่างๆ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้แก่ อาคารล้วน – เพิ่มพูล ว่องวานิช ชั้นใต้ดิน, อาคารอภันตรีปชา ชั้น 4, อาคาร ภปร. ชั้น 4 และอาคาร สก. ชั้น 4

ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 มีการพัฒนาระบบการเก็บข้อมูลทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัยจากระบบแอนะล็อกเป็น ระบบ ดิจิทัล หรือที่เรียกว่า Picture Archiving and Communication System (PACS) ผลิตภัณฑ์ของ Agfa รุ่น Enterprize 250 โดยมีศูนย์เก็บข้อมูลภาพทางการแพทย์อยู่ที่อาคารจุลจักรพงษ์ ชั้น 4 ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้ขยายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลพร้อมเพิ่มระบบสารสนเทศรังสีวิทยา (Radiology Information System, RIS) จึงย้าย main server ไปที่อาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ – สุพิณ ชั้น 2 โดยเปลี่ยนมาใช้ PACS ผลิตภัณฑ์ของ Synapse และ RIS ผลิตภัณฑ์ของ Envision Synapse ใช้เทคโนโลยี Wavelet compression ล่าสุดที่ทำให้เข้าถึงข้อมูล ทางภาพรังสีวิทยา วินิจฉัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ PACS ของ Agfa ยังคงตั้งอยู่ที่เดิม แต่ทำหน้าที่เป็น Back-up server ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2557 จะดำเนินการติดตั้ง main server ที่อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 2 ส่วนระบบที่ติดตั้งบนอาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ – สุพิณ ชั้น 2 จะทำหน้าที่เป็น mirror system โดยในช่วงที่มีการ เปลี่ยนแปลงลักษณะการเก็บข้อมูล สาขารังสีวิทยาวินิจฉัยจะยังคงใช้ระบบฟิล์มกับระบบ PACS ควบคู่กันไป โดยวางแผนว่าจะดำเนินการเปลี่ยนเป็น filmless ในอนาคตข้างหน้า