ด้านการวิจัย
ภาควิชารังสีวิทยามีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการวิจัย เพื่อให้การดำเนินงานด้านการวิจัยของภาค วิชารังสีวิทยาเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ โดยประกาศไว้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 (ฉบับแก้ไขปรับปรุง) โดยคณะอนุกรรมการฯมีการจัดประชุมเพื่อบริหารงานให้เป็นไปตาม แผนงานวิจัยของภาควิชาฯ โดยมีการจัดประชุมทุก 2 เดือน
ภาควิชารังสีวิทยา มีหลักเกณฑ์ให้นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา (นิสิตปริญญาโท แพทย์ประจำบ้าน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แพทย์ประจำบ้านต่อยอดหลักสูตร 2 ปี โดยการรับรองของราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่ง ประเทศไทยต้องทำวิจัยทุกคนโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานของราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทยสำหรับ แพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอด ส่วนนิสิตระดับปริญญาโททุกคนต้องทำรายงานวิทยานิพนธ์ โดยใช้ หลักเกณฑ์การทำวิทยานิพนธ์ของบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และงานวิจัยทุกเรื่องต้องผ่านการประเมิน จากคณาจารย์และอนุกรรมการส่งเสริมการวิจัยของภาควิชารังสีวิทยาและผ่านคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ในมนุษย์ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก่อนเสมอ
ภาควิชารังสีวิทยามีการกำหนดรายวิชา Research อยู่ในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง เพื่อให้นิสิตมี ประสบการณ์และมีส่วนร่วมด้านงานวิจัย และมีการจัด Research Club เพื่อให้นิสิตเสนอโครงร่างงานวิจัยของตนเอง และมีการเชิญอาจารย์จากภายในและภายนอกภาควิชามาร่วมแสดงความคิดเห็น ชี้แนะ และประเมินผลในการนำเสนอ โครงร่างงานวิจัย
ภาควิชารังสีวิทยาได้รับเงินทุนสนับสนุนจากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช ฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยของบุคลากรภายในภาควิชา โดยได้นำเงินทุนฯมาจัดทำ โครงการ Decentralizationซึ่งเป็นโครงการเพื่อเพิ่มผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติของบุคลากร ภายในภาควิชาฯเป็นจำนวนเงิน 400,000 บาท ตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 – กันยายน 2556 โดยมีการตั้งเป้าหมายการ ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติอย่างน้อย 13 เรื่อง / ปี โดยในปี พ.ศ. 2554 มีจำนวนผลงานวิจัยที่ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติจำนวน 8 เรื่อง และในวารสารวิชาการระดับนานาชาติจำนวน 17 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2555 มีจำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติจำนวน 5 เรื่อง และในวารสารวิชาการ ระดับนานาชาติจำนวน 16 เรื่อง
ด้านการบริการวิชาการและการบริการทางการแพทย์
ภาควิชารังสีวิทยาได้ดำเนินการจัดการฝึกอบรมทาง วิชาการให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งในรูปแบบของการอบรมเฉพาะบุคคลและการประชุม ทางวิชาการ
นอกจากนี้ยังมีการให้บริการทางวิชาการเพื่อการเรียนรู้แก่ประชาชน เช่น ให้สัมภาษณ์ทางรายการโทรทัศน์ เกี่ยวกับโรคมะเร็งทางเดินอาหาร การให้สัมภาษณ์ทางรายการโทรทัศน์และวิทยุเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสีโดยเฉพาะ ในช่วงที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ภายในโรงไฟฟ้าฟูกูชิมา ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2554
ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยาได้ให้ความสำคัญกับงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ได้แก่ การจัดงาน เกษียณอายุราชการแก่บุคลากร การจัดงานมุทิตาจิตแด่อาจารย์อาวุโสเนื่องในโอกาสครบ 72 ปี และ 84 ปี พิธีไหว้ครู โรงเรียนรังสีเทคนิคเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่ออาจารย์อาวุโส นอกจากนี้ภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยายังจัดให้มี โครงการทำวัตรเช้าพัฒนาจิตสู่ชีวิตที่พ้นทุกข์โดยมีการจัดงานขึ้นทุกวันพุธ เวลา 07.00 – 08.30 น. ณ อาคารล้วน – เพิ่มพูล ว่องวานิช ชั้น 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติได้รับประโยชน์ระหว่างรอแพทย์ตรวจและเพื่อ เพิ่มพูนประสบการณ์ทางศีลธรรมจริยธรรมแก่ผู้ป่วยและญาติ
ภาควิชา/ฝ่ายวิชารังสีวิทยาจัดให้มีการไปกราบอวยพรปีใหม่แก่ผู้มีอุปการคุณต่อภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยาและ มีการจัดทำบุญประจำปีถวายแด่พระองค์เจ้าอภันตรีปชาเนื่องในวันสิ้นพระชนม์ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์เป็นประจำทุกปี