ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค (พ.ศ. 2490 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2512)

pic15ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค หรือ “อาจารย์หมอใหญ่” ของผู้ที่คุ้นเคยและบรรดาศิษย์ นับเป็นอาจารย์รุ่นแรกของพวกเรานับตั้งแต่ที่มีการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ซึ่งในสมัยแรกอยู่ ในสังกัดของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยท่าน เป็นผู้หนึ่งที่ริเริ่มในการวางรากฐานและพัฒนาวิชารังสีวิทยาในประเทศไทยจน กระทั่งมีความเจริญก้าวหน้ามาถึงปัจจุบัน

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค เป็นธิดาคนใหญ่ของพลตรี พระยาสุรวงศ์ วิวัฒน์ (เตี้ยม บุนนาค) ท.จ.ว., ม.ว.ม., ป.ช. สมุหพระราชมณเฑียร กับหม่อมหลวงวงศ์ สุรวงศ์ วิวัฒน์ ต.จ. (ราชสกุลฉัตรกุล) เกิดเมื่อ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ท่านสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 8 จากโรงเรียนเซนต์โยเซฟ คอนเวนต์ ต่อมาได้รับ พระราชทานทุนส่วนพระองค์ของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เพื่อเดินทางไปศึกษาวิชาแพทย์ ณ University of the Philippines และได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2479 หลังจากนั้นท่านได้กลับมาเป็นแพทย์ประจำ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยปฏิบัติงานในตำแหน่งศัลยแพทย์ จนกระทั่งในระหว่าง ปี พ.ศ. 2481 – พ.ศ. 2482 ท่านก็ได้รับทุน Alexander von Humboldt เพื่อเดินทางไปศึกษาวิชารังสีวิทยากับ Professor Werner Knothe และ Professor Frik ณ เมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อท่านเดินทางกลับมาประเทศไทยจึงได้ปฏิบัติงาน ในตำแหน่งรังสีแพทย์ประจำโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ในส่วนของงานทางด้านรังสีวิทยาในระยะแรกๆ ก่อนหน้านั้น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้เชิญ ศาสตราจารย์ หลวงพิณพากย์พิทยาเภท ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ “แพทย์ผู้ตรวจทางแสงรัศมี” มาเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ และเรียก หน่วยงานนี้ว่า “หมวดแสงรัศมี” ซึ่งในขณะนั้นมี เครื่องถ่ายภาพรังสี เพื่อการวินิจฉัยโรคโดยเป็นเครื่องขนาดเล็ก ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2484 หน่วยแพทย์ของกองทัพ ญี่ปุ่นได้เข้ามาใช้โรงพยาบาลของ สภากาชาดไทย และใช้เครื่องเอกซเรย์ของ “หมวดแสงรัศมี” ในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วย ต่อมาเมื่อหน่วยแพทย์ของ กองทัพอังกฤษและอินเดียเข้ามาแทนที่ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จึงได้มีเครื่องเอกซเรย์ซึ่งใช้ช่วยในการสืบสวนกรณี สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในปี พ.ศ. 2489

เมื่อมีการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2490 ท่านก็ได้มาเป็นอาจารย์ทำการสอนนักศึกษาแพทย์ตั้งแต่รุ่นแรก โดยได้เปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น “แผนกรังสีวิทยา” ในปี พ.ศ. 2495 ศาสตราจารย์แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค ได้รับทุนขององค์การ MSA (Mutual Security Agency) เพื่อเดินทางไปศึกษาและปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล Dellevue เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งท่านสอบได้ประกาศนียบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญทางรังสีวิทยา (Diplomate of the American Board of Radiology) และเป็นสมาชิกของ The American College of Radiology เมื่อท่านเดินทางกลับมาประเทศไทย โดยความร่วมมือจาก องค์การ MSA แผนกรังสีวิทยา จึงได้มีเครื่องมือที่ได้มาตรฐานสำหรับการตรวจทางรังสีวิทยาคือ เครื่อง General Electric Maxicon 300 และท่านเป็นคนแรกที่ได้นำวิธีการตรวจทางระบบทางเดินอาหารโดยการทำ Fluoroscopy และการถ่ายภาพรังสีด้วย Spot film มาใช้ในประเทศไทย พร้อมๆ กับวิธีการตรวจถุงน้ำดีโดยใช้สารทึบแสง ในปี พ.ศ. 2503 ท่านได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกรังสีวิทยาสืบต่อจากศาสตราจารย์ หลวงพิณพากย์พิทยาเภท และในปี พ.ศ. 2508 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ในวิชารังสีวิทยา และปฏิบัติงานตลอดมาจวบจนกระทั่งเกษียณอายุ ราชการในปี พ.ศ. 2511

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนิ นี าถเสดจ็ พระราชดา� เนนิ มาทรงประกอบพธิ เี ปดิ ตกึ รักษาผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค เฝ้าฯ รับเสด็จ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชนิ นี าถเสดจ็ พระราชดา� เนนิ มาทรงประกอบพธิ เี ปดิ ตกึ รักษาผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค เฝ้าฯ รับเสด็จ

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถอย่างมากในทาง วิชาการ ประกอบกับเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกลและมีความคิดก้าวหน้า ท่านจึงได้จัดเตรียมบุคลากรที่จะมาดำเนิน งานเป็นรังสีแพทย์และอาจารย์ผู้สอนเฉพาะทางรังสีวิทยาสาขาต่างๆ โดยท่านได้ให้การสนับสนุน แนะนำ เพื่อให้บุคลากร

เหล่านั้นมีโอกาสศึกษา ฝึกอบรม และดูงานในสถานที่ที่เหมาะสม อีกทั้งยังได้จัดหาผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเพื่อให้มา เป็นที่ปรึกษาและช่วยกิจการบางอย่าง ทำให้มีการขยายอัตรากำลังของบุคลากร ด้านรังสีแพทย์และเจ้าหน้าที่ระดับต่างๆ ของแผนกรังสีวิทยา ซึ่งทำให้สามารถปฏิบัติงานในด้านต่างๆได้ทุกสาขาวิชา สำหรับในด้านเครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์ ทางรังสีวิทยา ก็สามารถดำเนินงานอยู่ได้ด้วยตัวเอง ทั้งยังได้พยายามจัดหาเครื่องมือจากภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งการระดมเงินทุนจากผู้มีจิตศรัทธาที่นำมาบริจาค เพื่อใช้ในการขยายงานทั้งในด้านเครื่องมือและอาคารสถานที่ ออกไปอย่างกว้างขวาง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น และแม้ว่าบางครั้งท่านจะต้องเผชิญกับ อุปสรรคต่างๆ มากมาย แต่ท่านก็มิได้ท้อถอยแต่อย่างใด ดังเช่นในขณะที่ยังไม่มีเครื่องเปลี่ยนฟิล์มอัตโนมัติ สำหรับการ ตรวจทางรังสีของระบบหลอดเลือดและประสาทรังสีวิทยา (Vascular Radiology และ Neuroradiology) ท่านก็ได้ ดัดแปลงใช้เครื่องมือที่ทำในประเทศอย่างง่ายๆ โดยการใช้พนักงานดึงฟิล์มออกทีละแผ่นเพื่อให้ได้จังหวะกับการถ่ายภาพ เอกซเรย์ ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้แผนกรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์กลายเป็นสถาบันชั้นนำของประเทศใน ด้านการทำการตรวจพิเศษต่างๆ ทางรังสีวิทยาและมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยซึ่งได้เริ่มใช้เป็นครั้ง แรกในประเทศไทย หลายอย่าง ซึ่งนอกเหนือไปจาก Fluoroscopy และ Spot film แล้วก็ยังมี Tomography เครื่องเปลี่ยนฟิล์มเร็วอัตโนมัติ และเครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติ ตลอดจนการใช้ Image intensifier กับโทรทัศน์ และ Video recorder สำหรับผลงานที่ ท่านได้เริ่มทำและมีส่วนสนับสนุนให้เกิดขึ้นในทางรังสีวิทยาวินิจฉัย ได้แก่

  • Peripheral Angiography ในปี พ.ศ. 2493
  • Cerebral Angiography และ Air Studies ในปี พ.ศ. 2495
  • Intravenous Cholecystocholangiography ในปี พ.ศ. 2497
  • Percutaneous Splenoportography ในปี พ.ศ. 2498
  • Translumbar Aortography ในปี พ.ศ. 2498
  • Angiocardiography ในปี พ.ศ. 2499
  • Selective Angiography และ Lymphangiography ในปี พ.ศ. 2506

ท่านได้มีการประสานความร่วมมือกับแพทย์และ อาจารย์จากแผนกอื่นๆ เป็นอย่างดียิ่งซึ่งผลงานหลายอย่าง ก็เป็นผลงานร่วมกันกับแผนกอื่นๆ เช่น ศัลยศาสตร์ เป็นต้น

สำหรับงานทางด้านรังสีรักษาในระยะแรก ท่านได้เริ่มงานด้านนี้โดยการใช้แร่เรเดียมและ Orthovoltage External radiation ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 ก็ได้รับบริจาคเครื่อง Cobalt จากสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงของ สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ทำให้แผนกรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นสถาบันแห่งแรกในประเทศไทย ที่ได้ให้การรักษาด้วย Cobalt Teletherapy และในปี พ.ศ. 2508 ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศแคนาดา ซึ่งได้ มอบเครื่อง Cobalt Teletherapy “Theratron 80” ให้เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง

สำหรับงานทางด้านบุคลากร ท่านได้ให้การสนับสนุนอาจารย์หลายท่านในการเดินทางไปศึกษาวิชารังสีรักษา ณ ต่างประเทศ และกลับมาขยายงาน ทางด้านรังสีรักษาให้เจริญมากยิ่งขึ้นจวบจนถึงปัจจุบัน

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค กับรังสีแพทย์และพยาบาล ตึกสวัสดิ์ - ล้อม โอสถานุเคราะห์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค กับรังสีแพทย์และพยาบาล ตึกสวัสดิ์ – ล้อม โอสถานุเคราะห์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ในปี พ.ศ. 2502 ท่านได้เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งหน่วยไอโซโทปส์ขึ้น โดยได้รับความช่วยเหลือจากองค์การ International Atomic Energy Agency (IAEA) ซึ่งได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยให้คำแนะนำ เครื่องมือ ที่ใช้ในระยะแรก โดยเป็นเครื่องมือที่ได้จากการบริจาค ทั้งนี้งานในระยะแรกได้แก่ งานด้าน Thyroid gland ทั้งการ วินิจฉัยและรักษาโรค การใช้สารกัมมันตรังสีฟอสฟอรัสแยกระหว่าง malignant และ benign effusions การหา extracellular fluid และการรักษาโรคมะเร็งด้วยสารกัมมันตรังสี เป็นต้น ในระยะต่อมาก็ได้มีการขยายงานทั้งเครื่องมือสถานที่และบุคลากรเพิ่มมากขึ้น และได้มีการริเริ่มงาน Radioimmunoassay ในปี พ.ศ. 2511 ผลจากการดำริและ จัดตั้งหน่วยนี้ของศาสตราจารย์ แพทย์หญิงคุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค ได้ทำให้งานทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อยู่ในระดับมาตรฐานของโลกและมีความเจริญรุ่งเรืองรุด หน้าอยู่ในระดับผู้นำในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2508 ท่านได้เริ่มงานใหม่ทางด้าน Radiation physics โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การ International Atomic Energy Agency (IAEA) ซึ่งได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้และฝึกอบรมแก่แพทย์และ นักฟิสิกส์ในการใช้รังสีบำบัดโรคมะเร็ง ซึ่งนับว่าเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญอย่างยิ่ง

ตลอดระยะเวลาที่ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงคุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค ได้บริหารงานของแผนกฯ ท่านเป็น ผู้ที่มีความตั้งใจ ความรัก เอาใจใส่ และมีความเมตตากรุณาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา อีกทั้งยังให้ความช่วยเหลือและแนะนำ ด้วยดีมาโดยตลอด ทำให้ท่านเป็นที่รักใคร่ของผู้ที่ได้มีโอกาสปฏิบัติงานร่วมกับท่านทุกคน

ในด้านการเรียนการสอน ศาสตราจารย์แพทย์หญิงคุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีความรู้และ ความสามารถอันยอดเยี่ยม ยิ่งไปกว่านั้นท่านยังเป็นอาจารย์ที่มีความรักเอื้อเอ็นดูต่อศิษย์ด้วยการ ให้ความรู้และสั่งสอน อบรมทั้งในด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรู้วิชารังสีวิทยาแก่ศิษย์จำนวนมาก อันได้แก่นิสิตแพทย์ตั้งแต่รุ่นแรก ตราบจนท่านเกษียณอายุราชการ แพทย์ประจำบ้านรังสีวิทยา แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์สาขาอื่นๆ รวมทั้งนักศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย และเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค ซึ่งท่านได้ถ่ายทอดวิชาความรู้อย่างละเอียดลึกซึ้งอันเป็นประโยชน์แก่ศิษย์ ทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นท่านยังได้จัดวางหลักสูตรการเรียนการสอน ทั้งในระดับก่อนและหลังปริญญาเป็นที่ปรึกษาของแพทย์ในสาขา ต่างๆ เมื่อมีปัญหาได้จัดการประชุมร่วมกับแผนกต่างๆ เช่น Surgico – Radiology Conferenceซึ่งเป็นการประชุมที่มี ผู้สนใจและมาร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก

นอกจากงานดังกล่าวข้างต้นแล้ว ท่านก็ยังมีงานทางด้านวิชาการโดยเป็นนักวิจัยหลักและผู้วิจัยร่วมอีกทั้งยัง ได้ให้การสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีความสนใจทำการค้นคว้าและทำการวิจัย ดังจะเห็นได้จากผลงานวิจัยที่ปรากฏ จากแผนกรังสีวิทยา ซึ่งในระยะที่ท่านเป็นหัวหน้าแผนกฯ มีเกือบ 100 เรื่องที่ได้ลงพิมพ์ในวารสารทั้งไทยและต่างประเทศ สำหรับตัวอย่างผลงานวิจัยสำคัญๆ ของท่านที่ได้ลงพิมพ์ในวารสารต่างๆ อาทิ

  1. ตวัน สุรวงศ์ บุนนาค, ทวีป นพรัตน์ “Biligrafin” in examination of biliary tract จุฬาลงกรณ์เวชสาร           1954 มิ.ย. ; 1 (1): 1 – 15
  2. เฉลี่ย วัชรพุกก์, ชัญโญ เพ็ญชาติ, ตวัน สุรวงศ์ บุนนาค, วิรุฬห์ ขาวปริสุทธิ์, ศีลวัต อรรถจินดา Percutaneous splenic portography จุฬาลงกรณ์เวชสาร 1956 มี.ค. ; 3 (1) : 1 – 7
  3. สุนิตย์ เจิมสิริวัฒน์, ตวัน สุรวงศ์ บุนนาค, กอบชัย พรหมมินทะโรจน์, จันทนา สุขวัจน์ Adenoma sebaceum (Pringle Type) associated with tuberous sclerosis. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 1956 ก.ค. ; 3 (2) : 1 – 12
  4. Bunnag TS. Coarctation of the abdominal aorta at the origin of the inferior mesenteric  artery : report of a case diagnosed by translumbar aortography Am J. Roentgenol 1957 Dec ;   78 (6)             : 1003 – 1006
  5.  Bunnag TS, Kaoparisuthi V, Arthachinta S, Chienpradit K, Binbakaya L Percutaneous splenic  portography in amoebic liver abscess. Am J. Roentgenol, 1958 Aug ; 80 (2) : 324- 329
  6. Bunnag TS. Recent observations in percutaneous splenoportography at Chulalongkorn Hospital     J. Int Coll of Surg 1958 Mar; 29 (3) 296 – 307
  7. Hongsladarom T, Bunnag TS, Kaoparisuthi V, Chienpradit K. Cerebral angiographic study incerebrovascular accident. Thai J Radiol. 1964, 2 (1) : 6 – 11
  8. Suwanwela N, Arthachinta S, Tangchai P, Suwanwela C, Bunnag TS. Angiographic study in intracranial abscess. Australasian Radiol. 1965, 10 (4) : 324 – 329
  9. Suwanwela N, Suwanwela C, Charuchinda S, Hongsladarom T, Bunnag TS. Angiography in       tuberculous meningitis. Thai J Radiol. 1967, ธ.ค. 5 (2) : 104 – 114

นอกจากนี้ท่านยังได้เข้าร่วมในการประชุม วิชาการทางรังสีวิทยาทั้งในและต่างประเทศ พร้อมทั้งเสนอบทความ ทางวิชาการหลายครั้งและยังได้เดินทางไปดูงานทางรังสีวิทยาเป็นระยะๆ เพื่อนำเอาความรู้ที่ได้รับมาใช้ในงาน เพื่อความ ก้าวหน้าและการพัฒนาทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงคุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค ในช่วง พักรับประทานอาหารกลางวันระหว่างเข้าเวรที่โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงคุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค ในช่วง พักรับประทานอาหารกลางวันระหว่างเข้าเวรที่โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค ได้ปฏิบัติงานที่สำคัญอื่นๆ อีกหลายด้าน เช่น ท่านเป็นผู้หนึ่ง ที่ได้เริ่มก่อตั้งรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2505 และทำงานให้กับรังสีวิทยาสมาคมตลอดมา โดยเป็น ประธานแผนกวิชาการในปี พ.ศ. 2506 บรรณาธิการรังสีวิทยาสารระหว่างปี พ.ศ. 2506 – 2511 และเป็นอุปนายก รังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ.2512

นอกจากนี้ท่านยังได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาของ องค์การอนามัยโลกในด้าน Medical Radiation Physics ระหว่างปี พ.ศ. 2510 – 2520 รวมถึงการได้ปฏิบัติงานเพื่อสาธารณประโยชน์อีกมากมาย เช่น ดำรงตำแหน่งรอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในช่วงระหว่าง ปี พ.ศ. 2503 – 2512 ดำรงตำแหน่งกรรมการ เจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองบรรเทาทุกข์และอนามัย สภากาชาดไทย ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2511 – 2523 รวมถึงเมื่อคราวที่สันนิบาตสภากาชาดไทยได้จัด “Asian Red Cross Institute on Community Welfare Work” ขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2516 ท่านก็ได้มีบทบาทเป็น Co – Director คนหนึ่ง นอกจากนั้น ท่านยังได้มีการจัดตั้งหน่วยเอกซเรย์ที่สถานพักฟื้นสวางคนิวาส สภากาชาดไทย เมือ่ ปี พ.ศ. 2507 และที่สถานีกาชาด หัวหิน ท่านได้เป็นผู้แทนสภากาชาดไทยเดินทางไปร่วมประชุม ณ ต่างประเทศหลายครั้ง และยังเป็นผู้ประสานงานกับ ก.ร.ป. กลาง ในการจัดตั้งหน่วยเอกซเรย์เคลื่อนที่เพื่อการพัฒนาชนบท ในปี พ.ศ. 2510 และช่วยในโครงการพัฒนา เครื่องถ่ายเอกซเรย์เคลื่อนที่สำหรับใช้ในชนบทขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2510 เป็นต้น

ด้วยความเฉลียวฉลาดประกอบกับความรู้ ความสามารถและความชำนาญพิเศษทางรังสีวิทยา ดังผลงานที่ ปรากฏ ท่านได้นำชื่อเสียงมาสู่คณะและมหาวิทยาลัย จากความเป็นผู้ที่เปี่ยมไปด้วยคุณธรรมและจริยธรรม ทำให้ ศาสตราจารย์แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค เป็นที่รักและเคารพอย่างสูงสำหรับบรรดาศิษย์ ในส่วนผู้ที่ได้รู้จัก ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศก็ได้ให้ความรักและยกย่องนับถือ และในปี พ.ศ. 2503 ท่านก็ได้รับพระราชทานปริญญา แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ แม้เมื่อท่านเกษียณอายุราชการแล้วท่านก็ยังคงให้ความ ช่วยเหลือเป็นที่ปรึกษางานทางด้านรังสีวิทยาและได้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ กิตติคุณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2524

สำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้า เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 และทวีติยาภรณ์ช้างเผือก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 นับเป็นเกียรติประวัติอย่างสูง ในชีวิตของท่าน