ประวัตินักฟิสิกส์การแพทย์

ประวัตินักฟิสิกส์การแพทย์

a4

นักฟิสิกส์การแพทย์ นับเป็นบุคลากรในสาขาที่ใช้กระบวนการและความรู้ทางด้านรังสีฟิสิกส์เพื่อใช้ในการ ปฏิบัติงานในด้านการดูแลเครื่องมือรังสี การวัดตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพเครื่องกำเนิดรังสี เพื่อนำมาใช้ในการ ตรวจและการรักษาผู้ป่วยการคำนวณปริมาณรังสี และการวางแผนเพื่อการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งโดยมีการกำหนดระดับ ปริมาณรังสีและคุณภาพของภาพรังสีเอกซ์ในสัดส่วนที่เหมาะสม รวมไปถึงการควบคุมคุณภาพของเทคนิค การฉาย รังสีรักษาและถ่ายภาพผู้ป่วยในการใช้ข้อมูลเชิงชีวฟิสิกส์ เพื่อการพยากรณ์โรคจากการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพรังสีหรือ การตรวจเชิงวิเคราะห์ปริมาณในงานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ร่วมทำการวางแผนการให้สารกัมมันตรังสีในงานเวชศาสตร์ นิวเคลียร์ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาโรค การดูแลและจัดอุปกรณ์ที่เหมาะสมในด้านการป้องกันอันตรายจากรังสี ให้กับผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไป โดยทั้งนี้ นักฟิสิกส์การแพทย์จะต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี   วิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาฟิสิกส์หรือรังสีเทคนิคหรือใกล้เคียง และสำเร็จปริญญาโทวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาฟิสิกส์การแพทย์หรือฉายาเวชศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์รังสีหรือใกล้เคียงเป็นอย่างต่ำ

นักฟิสิกส์การแพทย์คนแรกคือ รองศาสตราจารย์จงจินต์ ภัทรมนตรี ซึ่งท่านได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ เกียรตินิยมอันดับ 2 และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขานิวเคลียร์ฟิสิกส์จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยได้เข้ารับราชการในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2508 และได้เกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2545 โดยในระยะแรก ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency, IAEA) ได้ทำการจัดส่ง Dr. Paul M. Pfalzner ผู้เชี่ยวชาญทางฟิสิกส์ การแพทย์มาจัดตั้งหน่วย Hospital Physics และได้ฝึกอบรมรองศาสตราจารย์จงจินต์ ภัทรมนตรี เป็นระยะเวลา 1 ปี จึงนับได้ว่างานฟิสิกส์การแพทย์ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

รองศาสตราจารย์จงจินต์ ภัทรมนตรี ได้เข้ารับการฝึกอบรมทางด้าน Physics of Radiotherapy ที่ London University ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2511 เป็นระยะเวลา 1 ปี และได้ปฏิบัติงานวิจัยเรื่อง Particle Radiation Dosimetry ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เมืองชิบะ ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2535 เป็นระยะเวลา 6 เดือน

ในการปฏิบัติงานของรองศาสตราจารย์จงจินต์ ภัทรมนตรี ท่านได้ดูแลการเรียนการสอนด้านฟิสิกส์ การแพทย์ทั้งทางรังสีวิทยาวินิจฉัยและรังสีรักษาและยังนับเป็นอาจารย์ฟิสิกส์รุ่นแรกที่สอนและฝึกอบรมแพทย์ประจำ บ้านเฉพาะทาง สาขารังสีวิทยา ตั้งแต่รุ่นที่ 1 จนกระทั่งท่านเกษียณอายุราชการ

รองศาสตราจารย์จงจินต์ ภัทรมนตรี นับเป็นนักฟิสิกส์การแพทย์ที่เป็นกำลังสำคัญในยุคบุกเบิก คือ ช่วงปี พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2532 ซึ่งใช้เครื่องโคบอลต์-60 และเครื่องเอกซเรย์ระยะลึกในการรักษาผู้ป่วย รวมทั้งการใช้เครื่องใส่แร่ อัตราปริมาณรังสีสูงแบบระยะไกล

นักฟิสิกส์การแพทย์คนที่สองคือ รองศาสตราจารย์ศิวลี สุริยาปี ซึ่งท่านได้สำเร็จการศึกษาระดับวิทยาศาสตร บัณฑิต สาขาฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิวเคลียร์เทคโนโลยีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและได้ เข้ารับราชการในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2513 จวบจนกระทั่งเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2551 และต่ออายุราชการจนถึงปัจจุบัน ซึ่งท่านนับเป็นนักฟิสิกส์การแพทย์ที่ปฏิบัติงานในระยะเวลาที่ยาวนานที่ เริ่มจากยุคที่ใช้เครื่องโคบอลต์-60 พัฒนาสู่เครื่องเร่งอนุภาค จนถึงยุคเครื่องฉายรังสีที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องที่มีเทคโนโลยีสูง ฉายรังสีในระบบ 3 – 4 มิติแบบปรับความเข้ม รวมทั้งการใช้ระบบภาพนำวิถีตรวจสอบ ตำแหน่งของลำรังสี ในด้านการเรียน การสอน ท่านมีหน้าที่รับผิดชอบการสอนวิชาฟิสิกส์ ทางรังสีรักษาแก่นิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้านสาขารังสีวิทยา เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ และนักฟิสิกส์การแพทย์สาขาฉายาเวชศาสตร์ นอกนั้นแล้ว รองศาสตราจารย์ศิวลี สุริยาปี ยังเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการเรียนการสอน การเปิดหลักสูตรรังสีเทคนิค ระดับอนุปริญญา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาฉายาเวชศาสตร์ ที่เลือกเฉพาะทางรังสีรักษา การจัดฝึกอบรม ระยะสั้นแก่แพทย์และนักวิทยาศาสตร์จากประเทศในภูมิภาคเอเชียที่เข้ามารับการฝึกอบรมทางด้านรังสีรักษาโดยการ สนับสนุนของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ รวมทั้งการจัดเป็นศูนย์ฝึกอบรมทางรังสีรักษาระยะใกล้แบบ 3 มิติ ด้วยภาพจากเครื่อง MRI โดยร่วมมือกับ Medical University of Vienna และบริษัท Elekta

ในการพัฒนางานของฟิสิกส์การแพทย์ รองศาสตราจารย์ศิวลี สุริยาปี ได้ทำงานร่วมกับสมาคมนักฟิสิกส์ การแพทย์ไทย ฝึกอบรมนักฟิสิกส์การแพทย์ที่อ่อนอาวุโส เพื่อเป็นนักฟิสิกส์การแพทย์ที่มีศักยภาพตามมาตรฐาน สากลหลักสูตร 2 ปี (พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2552) โดยใช้หลักสูตรของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ซึ่งสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ส่งนักฟิสิกส์การแพทย์เข้าอบรมจำนวน 3 คน โดยรองศาสตราจารย์ศิวลี สุริยาปี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลักการพัฒนางานของสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ทำให้มีการสร้างนักฟิสิกส์การแพทย์เป็นทีมที่มีศักยภาพ และนอกจากการฝึกอบรมดังกล่าวแล้วสาขารังสีรักษาและมะเร็ง วิทยายังได้ให้การสนับสนุนนักฟิสิกส์การแพทย์ในการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก การเข้าร่วมประชุมวิชาการ การเสนอ ผลงานวิชาการ การตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ รวมถึงการพัฒนานักฟิสิกส์ การแพทย์ที่สามารถปฏิบัติงานได้ตามเทคโนโลยีการฉายรังสีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่ความเป็นเลิศของ สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ปัจจุบันมีนักฟิสิกส์การแพทย์ สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา สภากาชาดไทย จำนวน 8 คนที่เข้าปฏิบัติงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 จำนวน 1 คน และปี พ.ศ. 2546 – ปัจจุบัน จำนวน 7 คน โดยมีผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขานิวเคลียร์เทคโนโลยี เมื่อปี พ.ศ. 2555 จำนวน 1 คน และกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 2 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจำนวน 5 คน และรอรับการบรรจุอีกจำนวน 1 คน

สำหรับนักฟิสิกส์การแพทย์คนที่สามคือ รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี กฤษณจินดา ซึ่งท่านได้สำเร็จการศึกษา ระดับวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) สาขาฟิสิกส์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับทุนของทบวงการพลังงาน ปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) เพื่อเดินทางไปศึกษาต่อและสำเร็จการศึกษาระดับ Master of Science (Radiation Physics) จาก Middlesex Hospital Medical School, University of London นอกจากนั้นท่านยังได้รับทุนจาก Finch University of Health Science, Chicago Medical School, North Chicago, Illinois, U.S.A. เพื่อศึกษาต่อ และสำเร็จการศึกษาระดับ Doctor of Philosophy in Medical Radiation Physics

รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี กฤษณจินดาเข้ารับราชการที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2524 ที่สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โดยมุ่งเน้นด้านการควบคุมคุณภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ จนได้รับตำแหน่งเป็นผู้แทนประเทศ และเป็นผู้เชี่ยวชาญของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศในภูมิภาค เอเชียและคาบสมุทรแปซิฟิก ในโครงการการควบคุมคุณภาพของเครื่องมือทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา ท่านได้เดินทางไปประเทศมาเลเซียและประเทศเวียดนามเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ภายใต้โครงการดังกล่าวในด้านการเรียนการสอน ท่านมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการสอนวิชารังสีฟิสิกส์ฟิสิกส์ทางเวชศาสตร์ นิวเคลียร์และการป้องกันอันตรายจากรังสี ในการผลิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้านสาขารังสีวิทยา สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์และนักฟิสิกส์การแพทย์ สาขาฉายาเวชศาสตร์ซึ่งหลักสูตรระดับวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฉายาเวชศาสตร์ เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนแห่งแรกในประเทศไทยที่มีการสร้างนักฟิสิกส์การแพทย์ทาง รังสีวินิจฉัย ดร.อัญชลี กฤษณจินดายังได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้แทนประเทศในโครงการระดับภูมิภาคของ IAEA ในด้าน การเรียนการสอนและการฝึกอบรมนักฟิสิกส์การแพทย์ให้มีความรู้ความชำนาญพิเศษในสาขาฟิสิกส์การแพทย์ของ รังสีวิทยาวินิจฉัย รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา ทำให้ประเทศไทย เป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่มีการฝึกอบรมของนักฟิสิกส์การแพทย์ที่ครบทั้ง 3 สาขา สำหรับงานด้านการบริการผู้ป่วย ท่านได้รับความช่วยเหลือจาก IAEA ด้านโครงการวิจัยระดับภูมิภาค และสามารถนำมาใช้ในงานประจำเกี่ยวกับ การป้องกันอันตรายจากรังสี การประเมินปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ การลดปริมาณรังสีในผู้ป่วยที่มารับการวินิจฉัยด้วยรังสี และในงานบริการด้านรังสีร่วมรักษา รวมถึงงานด้านการเยี่ยมสำรวจ การประเมินและตรวจสอบคุณภาพทางรังสีวิทยา วินิจฉัย (QUAADRIL) และทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (QUANUM) เพื่อให้งานบริการทางรังสีวิทยาวินิจฉัยและเวชศาสตร์ นิวเคลียร์ มีการพัฒนาอย่างมีมาตรฐานทัดเทียมกับประเทศในสหภาพยุโรปและออสเตรเลียเป็นต้น อันจะเป็นประโยชน์ ต่อผู้ป่วยโดยตรงซึ่งงานดังกล่าวได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน โดยมุ่งหวังให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเป็นสถาบันที่มีมาตรฐานทางรังสีวิทยาเป็นแห่งแรกของประเทศและเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ดร.อัญชลี กฤษณจินดาได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักฟิสิกส์การแพทย์ไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบัน โดยสมาคมฯ มีสำนักงานที่อาคารอับดุลราฮิม ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และมีสมาชิกประมาณ 200 คนซึ่งสมาคมนักฟิสิกส์การแพทย์ไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรฟิสิกส์การแพทย์ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFOMP) และ ดร.อัญชลี กฤษณจินดา ได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานองค์กรฯ ดังกล่าวในระหว่างปี พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2555 และเป็นกรรมการบริหารองค์กรฟิสิกส์การแพทย์แห่งเอเชียและคาบสมุทร แปซิฟิก (AFOMP) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบัน และเป็นกรรมการบริหารองค์กรฟิสิกส์การแพทย์นานาชาติ (IOMP) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 และในปี พ.ศ. 2556 ดร.อัญชลี กฤษณจินดา ก็ได้รับการเสนอชื่อให้เป็น 1 ใน 50 ของ Outstanding Medical Physicist ของโลก เนื่องในวาระครบ 50 ปีขององค์กรฟิสิกส์การแพทย์นานาชาติ โดยมีการ ประกาศผลที่เมืองไบรตัน ประเทศสหราชอาณาจักร เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 นับได้ว่าท่านเป็นนักฟิสิกส์การแพทย์ สตรีคนแรกของประเทศไทยและทวีปเอเชีย ที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณสาขาฟิสิกส์การแพทย์ดังกล่าว และนำชื่อเสียง มาสู่องค์กรทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย