พัฒนาการของภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยาโดยอิงตามวาระของหัวหน้าภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยา

history

ประวัติความเป็นมาของภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยาเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อครั้งที่มีการก่อตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 ซึ่งในขณะนั้นได้มีเครื่องเอกซเรย์อยู่แล้วและเป็นเครื่องที่ใช้หลอดชนิด “Gas tube” ติดตั้งไว้ในห้องผ่าตัด โดยเป็น “แพนกไฟฟ้าและราดิอุม”และในวันเปิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นายพันตรีหลวงศักดาพลรักษ์ (เสก ธรรมสโรช) (คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม) ซึ่งรั้งตำแหน่งหัวหน้าแผนกอยู่ในขณะนั้นก็ได้ฉายเอกซเรย์ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2473 พระเจ้าพี่นางเธอพระองค์เจ้าสุวพักตร์วิลัยพรรณได้ทรงบริจาคเครื่องเอกซเรย์ของบริษัท ซีเมนส์ (Siemens) จำนวน 1 เครื่อง เพื่ออุทิศถวายแด่สมเด็จพระบรมชนกนาถ

เมื่อกล่าวถึงงานทางด้านเอกซเรย์และ แพนกไฟฟ้าและราดิอุม ในช่วงแรกเริ่มก่อตั้ง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ก็ปรากฏว่าไม่ได้มีหัวหน้าหน่วยงานที่คอยควบคุมดูแลระบบงานอย่างจริงจัง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2477 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้เชิญศาสตราจารย์ หลวงพิณพากย์พิทยเภทซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ “แพทย์ผู้ตรวจทางแสงรัศมี” มาเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ และเรียกหน่วยงานนี้ว่า “หมวดแสงรัศมี” ซึ่งศาสตราจารย์ หลวงพิณพากย์พิทยเภท ได้ปฏิบัติงานด้านนี้มาจนกระทั่งได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุขเมื่อปีพ.ศ. 2501 รวมระยะเวลาที่ท่าน ทำงานอยู่ในหน่วยงานนี้ 24 ปี

ในปี พ.ศ. 2482 ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงคุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค ได้เข้ามาปฏิบัติงานเป็นรังสีแพทย์ หลังจากได้ไปศึกษาวิชารังสีวิทยา ณ เมืองเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยในระหว่างนั้นได้มีการจัดซื้อเครื่อง เอกซเรย์เพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคและรักษาโรคผิวหนังด้วย และได้มีเตียง “Bucky” เป็นเครื่องแรกในประเทศไทย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอภันตรีปชา พ.ศ. 2432 - 2477 พระราชธดิ าในพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาแส

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอภันตรีปชา พ.ศ. 2432 – 2477 พระราชธดิ าในพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาแส

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485 ได้มีพิธีเปิดอาคาร “อภันตรีปชา” ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอภันตรีปชา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้สิ้นพระชนม์ลงในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 โดยทุนทรัพย์ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารอภันตรีปชา ล้วนแล้วแต่เป็นเงินบริจาคจากพระประยูร ญาติของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอภันตรีปชา สำหรับลักษณะของอาคารเป็นอาคารชั้นเดียวซึ่งหมวดแสงรัศมีได้ ย้ายมาอยู่ที่อาคารอภันตรีปชาและใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติงานมาจนถึงปี พ.ศ. 2535 หลังจากนั้นจึงได้รื้อถอนและสร้างเป็น อาคาร “อภันตรีปชา” ใหม่ จำนวน 5 ชั้นในสถานที่เดิม

ในปี พ.ศ. 2489 ได้มีการใช้เครื่องเอกซเรย์ของ “หมวดแสงรัศมี” ในการสืบสวนกรณีสวรรคตของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

ในปี พ.ศ. 2490 มีการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และ มีการเปลี่ยนชื่อ “หมวดแสงรัศมี” เป็น “แผนกรังสีวิทยา”

นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/ โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้มีผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้า ภาควิชา/หัวหน้าฝ่ายเป็นจำนวนทั้งสิ้น 10 ท่าน เริ่มต้น จากศาสตราจารย์แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค ซึ่งเป็นรังสีแพทย์คนแรกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หัวหน้าภาควิชาและคณาจารย์ ในภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยา ได้ร่วมแรงร่วมใจกันก่อตั้งและ พัฒนาภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยาอีกทั้งยังร่วมบุกเบิกความก้าวหน้าทางการแพทย์อย่างทุ่มเทสุดความสามารถ ไม่ว่า จะเป็นการพัฒนาหลักสูตรการเรียน การสอนทั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา ตลอดจนการ ผลิตผลงานวิจัยอย่างไม่หยุดยั้งจนก้าวสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำในด้าน รังสีวิทยาของประเทศไทยและมีคุณภาพทัดเทียม ต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็ได้มีการนำเอาความรู้ที่ทันสมัยมาพัฒนา งานบริการผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และมีการประสาน การทำงานร่วมกับแพทย์ในภาควิชา/ฝ่ายอื่นๆ ทั้งในด้านวิชาการและ งานบริการเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด     กล่าวได้ว่าหัวหน้าภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยาทั้ง 10 ท่านล้วนแล้วแต่เป็นหัวหน้า ภาควิชาที่มีความเสียสละและ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ซึ่งรายนามของหัวหน้าภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยา มีดังต่อไปนี้ (ตำแหน่งขณะเป็นหัวหน้าภาควิชา)

             รายชื่อหัวหน้าภาควิชา                                                                            ปี พ.ศ.

1. ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค                          พ.ศ. 2490 – พ.ศ.2512

2. ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพิศมัย อร่ามศรี                                        พ.ศ. 2512 – พ.ศ. 2522

3. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ศีลวัต อรรถจินดา                               พ.ศ. 2522 – พ.ศ. 2525

4. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์บุญเที่ยง ศีติสาร                                 พ.ศ. 2525 – พ.ศ. 2529

5. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงมาคุ้มครอง โปษยะจินดา                   พ.ศ. 2529 – พ.ศ. 2533

6. ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณหญิงนิตยา สุวรรณเวลา                     พ.ศ. 2533 – พ.ศ. 2541

7. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวัชรี บัวชุม                                          พ.ศ. 2541 – พ.ศ. 2544

8. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสมใจ หวังศุภชาติ                               พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2552

9. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เกียรติ อาจหาญศิริ                               พ.ศ. 2552 – พ.ศ. 2556

10. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุกัลยา เลิศล้ำ                                  พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2559

11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์จาตุรนต์ ตันติวัตนะ                          พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน