งานประกันคุณภาพด้านมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (Hospital Accreditation: HA)

การบริการทางสุขภาพเพื่อการรักษาโรคในโรงพยาบาลได้มีการนำเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาใช้อย่างมาก ซึ่งให้ผลดีในการรักษาพยาบาล แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั่นคือการพัฒนาคุณภาพการรักษาความปลอดภัยของผู้มารับ บริการ การทำงานร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพ และการกำกับดูแลรักษาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการให้บริการที่มี คุณภาพแก่ผู้มารับการบริการ ลดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ลดความไม่พึงพอใจ ลดความขัดแย้ง ลดความเสี่ยง ความสูญเปล่าต่างๆ รวมถึงมีกลไกเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลและบริการสุขภาพที่ได้ผล และปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อมวลชนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 ตลอดระยะเวลาที่ ผ่านมา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นที่ยอมรับจากประชาชนทั้งชาวไทยและต่างชาติทั้งยังได้รับการรับรองจากสถาบัน พัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ผลงานงานประกันคุณภาพด้านมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพของฝ่ายรังสีวิทยาสามารถแบ่งได้ตามสาขาต่างๆ ดังนี้

สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย

สาขารังสีวิทยาวินิจฉัยได้มีการพัฒนาคุณภาพบริการตามมาตรฐานการรับรองคุณภาพบริการของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฉบับฉลองการครองสิริราชสมบัติ 60 ปีของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล และความต้องการในการพัฒนาองค์กรของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โดยเฉพาะ โดยมีโครงการต่างๆ เกิดขึ้นและ ประสบความสำเร็จหลายโครงการ ได้แก่

• โครงการศึกษาเปรียบเทียบอัตราการถ่ายภาพรังสีซ้ำ เมื่อมีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้าทดแทนในการทำงาน (Screen – film VS computed radiography system)

• โครงการการลดระยะเวลาการรอคอยการบริการถ่ายภาพรังสีทั่วไปและการให้บริการรังสีร่วมรักษาแก่ ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในหอผู้ป่วยด้วยการนำกระบวนการของ Lean เข้าช่วยปรับปรุงและพัฒนางานการให้บริการ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้สามารถลดระยะเวลาการรับบริการให้แก่ผู้ป่วยและญาติ อีกทั้งยังเป็นการสร้างกระบวนการทำงาน ร่วมกันกับทีมสหสาขาวิชาชีพ (รังสีแพทย์ นักรังสีเทคนิคการแพทย์ พยาบาลเฉพาะทางด้านรังสี เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ รวมถึงเจ้าหน้าที่การเงิน) และหน่วยงานอื่น เช่น ห้องปฏิบัติการทางพยาธิวิทยาห้องบัตร เป็นต้น

• โครงการลดระยะเวลาคิวการรอคอยการนัดตรวจวินิจฉัยด้วยการถ่ายภาพรังสีของเต้านมการตรวจด้วย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงและการตรวจด้วยเครื่องตรวจคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก เพื่อให้การบริการผู้ป่วยเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ทันต่อการรักษาโรคของแพทย์ผู้ส่งตรวจ

• โครงการติดตามผู้ป่วยที่เกิดการแพ้สารทึบรังสีที่บ้านทางโทรศัพท์ภายใน 72 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย คลายวิตกกังวล เนื่องจากผู้ป่วยที่แพ้สารทึบรังสีควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

• โครงการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community, AEC)

• โครงการพัฒนาพฤติกรรมบริการและการพัฒนาบุคลิกภาพแก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับประจำทุกปี

• โครงการส่งเสริมให้อาจารย์รังสีแพทย์และแพทย์ประจำบ้านใช้ระบบ Picture Archiving Communication System (PACS) เพื่อการอ่านและแปลผลภาพวินิจฉัยอย่างทั่วถึง สามารถเปรียบเทียบภาพวินิจฉัยและอ่านผลได้โดย ไม่ต้องรอฟิล์มเก่า ด้วยการจัดระบบภูมิสถาปัตย์ใหม่ให้เอื้อต่อการทำงาน เพื่อลดอัตราการรอคอยผลการตรวจที่มีจำนวน ภาพมากในแต่ละการตรวจของแพทย์ – พยาบาลในคลินิกตรวจโรคต่างๆ และการสนับสนุนให้เกิดการใช้งาน PACS & Radiology Information System (RIS) report ให้มากขึ้น และนำไปสู่การลดการพิมพ์ภาพลงแผ่นฟิล์มด้วย อันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Filmless Hospital

อนึ่ง สาขารังสีวิทยาวินิจฉัยได้จัดทำแผ่นพับเพื่อเป็นการบริการให้ความรู้แก่ประชาชน ผู้ป่วยและญาติ รวมถึงได้จัดทำโครงการสร้างสื่อวีดิทัศน์เพื่อเผยแพร่และแนะนำผู้ป่วยในการปฏิบัติตัวก่อนเข้ารับบริการการตรวจทางรังสีวิทยาวินิจฉัยและรังสีร่วมรักษา

สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา

สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้นำเทคโนโลยีและเทคนิค การรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ทันสมัยมาใช้ร่วมกับพัฒนาบุคลากรและการพัฒนาคุณภาพการ ให้บริการเพื่อให้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพดีที่สุด

สำหรับด้านการพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาล ได้มีการทำวิจัยของแพทย์อย่างต่อเนื่องมีการพัฒนารูปแบบ การดูแลรักษาพยาบาลเป็นทีมโดยจัดตั้ง Patient Care Team (PCT) รังสีรักษาและมะเร็งวิทยาขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพ การรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งโดยสหสาขาวิชาชีพ มี Tumor Clinic Conference และ Quality Round การประกันคุณภาพของเครื่องฉายรังสีและการตรวจสอบคุณภาพการฉายรังสี เพื่อลดความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งการ ฉายรังสี การประกันคุณภาพทางการพยาบาล โครงการพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาล ตลอดจนการนำผลงานวิจัยมา ใช้เพื่อป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ แก่ผู้ใช้บริการรวมทั้งการทำวิจัยทางการพยาบาล เช่น

• การดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกโดยจัดตั้ง Care Management Team ขึ้น ได้พัฒนาปรับปรุง Care Map ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก และจัดทำสมุดคำแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยนอกจากนี้ยังมีสื่อ วีดิทัศน์แนะนำการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการรักษาด้วยการสอดใส่แร่อิริเดียม ด้านการรักษาได้ พัฒนาการใช้เครื่องตรวจคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กเพื่อจำลองการฉายรังสี (MRI Simulator) และใช้วางแผนการ รักษาแบบ 3 มิติในการใส่แร่ Ir192 (Image based brachytherapy) ตลอดจนการปรับปรุงระบบบริการโดยการใช้ แนวคิด Lean ในเรื่องลดระยะเวลาการรอรับการรักษาด้วยการฉายรังสีในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกโดยการประสานงานกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน เช่น พยาธิแพทย์โดยขอผลชิ้นเนื้อของผู้ป่วยใน 1 สัปดาห์และให้นักรังสี การแพทย์ ปรับเวลาการทำงานโดยไม่พักเที่ยงเพื่อให้สามารถฉายรังสีแก่ผู้ป่วยจำนวนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ ที่ทำการนัดผู้ป่วยฉายรังสีจะทำการติดตามผู้ป่วยใหม่เพื่อยืนยันการฉายรังสีภายใน 7 วัน หรือจัดหาผู้ป่วยใหม่ทดแทน กรณีที่มีผู้ป่วยเลื่อนนัดการฉายรังสี ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการรอรายงานผลชิ้นเนื้อของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจาก 2 สัปดาห์ เป็น 1 สัปดาห์ และลดระยะเวลารอเข้ารับการรักษา ด้วยการฉายรังสีจาก 1 เดือนเป็น 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยมะเร็ง ปากมดลูกได้รับการรักษาครบถ้วน ตามแผนการรักษาในระยะเวลาที่กำหนดและมีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาในระดับ ไม่รุนแรง (ระดับ 1 – 2)

• สำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูก ได้มีการประสานความร่วมมือของสหสาขาวิชาชีพ ตั้งแต่การทำ ENT Conference ระหว่างรังสีแพทย์และแพทย์เฉพาะทางด้านหู คอ จมูก ฝ่ายทันตกรรมจัดทำวีดิทัศน์ เรื่องข้อควรปฏิบัติในการดูแลทันตสุขภาพในผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษาบริเวณช่องปากและใบหน้าเพื่อป้องกันฟันผุ สาขา รังสีรักษาและมะเร็งวิทยาได้นำเครื่องฉายรังสีและเทคนิคการฉายรังสีที่ทันสมัยมาใช้ในการรักษา ตลอดจนนำ Evidence Based Practice (EBP) การป้องกันการเกิด Oral Mucositis มาใช้ดูแลผู้ป่วย พัฒนาปรับปรุงรูปแบบการใช้น้ำลาย เทียม โดยการใช้สเปรย์และจัดหา Biotine Gel เพื่อลดภาวะน้ำลายแห้งจากการฉายรังสีในผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูก และโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็งทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอลดลง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและได้รับการรักษาครบถ้วนตามแผนการรักษาในระยะเวลาที่กำหนด

• ด้านการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้มีการจัดทำ Family Conference การจัดทำโครงการ ลดความปวดในผู้ป่วยมะเร็ง โครงการธรรมะข้างเตียง โครงการจิตแจ่มใสใจใกล้ธรรม โครงการธรรมพาสุขใจ โครงการ ดนตรีบำบัด โครงการศิลปบำบัด โครงการโยคะเพื่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง โครงการปีใหม่เพื่อผู้ป่วยมะเร็ง โครงการดูแลผู้จากไป อย่างสวยงาม โครงการเวลาที่เหลือเพื่อเธอและครอบครัว (ดูแลผู้จากไป ห่วงใยผู้อยู่หลัง) และพัฒนากระบวนการดูแล ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายตามหลักศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม เพื่อให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว ได้รับการตอบ สนองทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ ผู้ป่วยจากไปอย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และเพื่อเตรียมรับ ผู้ป่วยต่างชาติเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ตลอดจนเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของบุคลากรภายในและภายนอกประเทศ

ด้านการบริการให้ความรู้แก่ประชาชนได้จัดทำ website (www.chulacancer.net) จัดทำหนังสือ “รู้จัก รู้เรื่อง รู้รักษาโรคมะเร็ง” แจกให้แก่ผู้ใช้บริการที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี

สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์

สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ได้ให้บริการการตรวจและรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์อย่าง มีมาตรฐานและมีคุณภาพอย่างเสมอมา นอกเหนือจากการให้บริการที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องแล้ว สาขาเวชศาสตร์ นิวเคลียร์ยังได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆดังต่อไปนี้ให้แก่ผู้ป่วยและผู้มารับบริการ เพื่อให้เกิดการบริการที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น

1. กิจกรรมลดระยะเวลารอคอยเตียงของผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน (I-131) ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาได้รวดเร็วขึ้น

2. สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ มีการทำการวิจัยอย่างสม่ำเสมอตลอดมา และได้นำผลงานวิจัยมาใช้ในการพัฒนา การรักษาและการดูแลผู้ป่วย เช่น การนำผลงานวิจัยเรื่อง “ Dose calculation using 4 hour I-131 uptake for retreatment radioiodine therapy of patient with Graves’ disease” มาใช้ในการคำนวณปริมาณสาร รังสีไอโอดีน (I-131) ในผู้ป่วยภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษชนิด Graves ทำให้ลดระยะเวลาในการตรวจรักษาลงจากเดิมที่ ผู้ป่วยต้องมาเข้ารับการตรวจและรักษาเป็นเวลา 2 วัน ทำให้เหลือแค่ 1 วัน ส่งผลให้ผู้ป่วยสะดวก ประหยัดเวลา รวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด

3. กิจกรรมการจัดหา “เกลือไม่มีสารไอโอดีน” ให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์และภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ที่จะต้องได้รับการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน (I-131) กิจกรรมดังกล่าวนี้ ทำให้ผู้ป่วยมีความสะดวกในการเตรียมตัวก่อน เข้ารับการรักษามากขึ้น

4. กิจกรรมการจัดทำวีดิทัศน์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเรื่อง “การปฏิบัติตนของผู้ป่วยภาวะต่อมไทรอยด์เป็น พิษภายหลังการรักษาด้วยสารรังสีไอโอดีน”

5. กิจกรรมการจัดทำบอร์ดให้ความรู้แก่ผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการที่สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ณ ชั้น 1 อาคารโปษยานนท์

6. กิจกรรมการเผยแพร่ความรู้ทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ผ่านทางแผ่นพับ เช่น จัดทำแผ่นพับเรื่อง มารู้จักเวชศาสตร์นิวเคลียร์กันเถอะ คอพอกเป็นพิษ การตรวจด้วยเครื่อง PET/CT เป็นต้น

7. กิจกรรมการเผยแพร่ความรู้ทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ผ่านทางเว็บไซต์ของภาควิชา (http:// radiology.md.chula.ac.th/) เช่น การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ PET/CT