สำหรับนักฟิสิกส์การแพทย์คนที่สามคือ รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี กฤษณจินดา ซึ่งท่านได้สำเร็จการศึกษา ระดับวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) สาขาฟิสิกส์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับทุนของทบวงการพลังงาน ปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) เพื่อเดินทางไปศึกษาต่อและสำเร็จการศึกษาระดับ Master of Science (Radiation Physics) จาก Middlesex Hospital Medical School, University of London นอกจากนั้นท่านยังได้รับทุนจาก Finch University of Health Science, Chicago Medical School, North Chicago, Illinois, U.S.A. เพื่อศึกษาต่อ และสำเร็จการศึกษาระดับ Doctor of Philosophy in Medical Radiation Physics
รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี กฤษณจินดาเข้ารับราชการที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2524 ที่สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โดยมุ่งเน้นด้านการควบคุมคุณภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ จนได้รับตำแหน่งเป็นผู้แทนประเทศ และเป็นผู้เชี่ยวชาญของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศในภูมิภาค เอเชียและคาบสมุทรแปซิฟิก ในโครงการการควบคุมคุณภาพของเครื่องมือทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา ท่านได้เดินทางไปประเทศมาเลเซียและประเทศเวียดนามเพื่อให้ความช่วยเหลือด้าน เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ภายใต้โครงการดังกล่าวในด้านการเรียนการสอน ท่านมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการสอนวิชารังสีฟิสิกส์ฟิสิกส์ทางเวชศาสตร์ นิวเคลียร์และการป้องกันอันตรายจากรังสี ในการผลิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้านสาขารังสีวิทยา สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์และนักฟิสิกส์การแพทย์ สาขาฉายาเวชศาสตร์ซึ่งหลักสูตรระดับวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฉายาเวชศาสตร์ เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนแห่งแรกในประเทศไทยที่มีการสร้างนักฟิสิกส์การ แพทย์ทาง รังสีวินิจฉัย ดร.อัญชลี กฤษณจินดายังได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้แทนประเทศในโครงการระดับภูมิภาคของ IAEA ในด้าน การเรียนการสอนและการฝึกอบรมนักฟิสิกส์การแพทย์ให้มีความรู้ความชำนาญพิเศษ ในสาขาฟิสิกส์การแพทย์ของ รังสีวิทยาวินิจฉัย รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา ทำให้ประเทศไทย เป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่มีการฝึกอบรมของนักฟิสิกส์การแพทย์ที่ครบทั้ง 3 สาขา สำหรับงานด้านการบริการผู้ป่วย ท่านได้รับความช่วยเหลือจาก IAEA ด้านโครงการวิจัยระดับภูมิภาค และสามารถนำมาใช้ในงานประจำเกี่ยวกับ การป้องกันอันตรายจากรังสี การประเมินปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ การลดปริมาณรังสีในผู้ป่วยที่มารับการวินิจฉัยด้วยรังสี และในงานบริการด้านรังสีร่วมรักษา รวมถึงงานด้านการเยี่ยมสำรวจ การประเมินและตรวจสอบคุณภาพทางรังสีวิทยา วินิจฉัย (QUAADRIL) และทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (QUANUM) เพื่อให้งานบริการทางรังสีวิทยาวินิจฉัยและเวชศาสตร์ นิวเคลียร์ มีการพัฒนาอย่างมีมาตรฐานทัดเทียมกับประเทศในสหภาพยุโรปและออสเตรเลียเป็น ต้น อันจะเป็นประโยชน์ ต่อผู้ป่วยโดยตรงซึ่งงานดังกล่าวได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน โดยมุ่งหวังให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเป็นสถาบันที่มีมาตรฐานทางรังสีวิทยาเป็นแห่งแรกของประเทศและ เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ดร.อัญชลี กฤษณจินดาได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักฟิสิกส์การแพทย์ไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบัน โดยสมาคมฯ มีสำนักงานที่อาคารอับดุลราฮิม ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และมีสมาชิกประมาณ 200 คนซึ่งสมาคมนักฟิสิกส์การแพทย์ไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรฟิสิกส์การ แพทย์ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFOMP) และ ดร.อัญชลี กฤษณจินดา ได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานองค์กรฯ ดังกล่าวในระหว่างปี พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2555 และเป็นกรรมการบริหารองค์กรฟิสิกส์การแพทย์แห่งเอเชียและคาบสมุทร แปซิฟิก (AFOMP) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบัน และเป็นกรรมการบริหารองค์กรฟิสิกส์การแพทย์นานาชาติ (IOMP) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 และในปี พ.ศ. 2556 ดร.อัญชลี กฤษณจินดา ก็ได้รับการเสนอชื่อให้เป็น 1 ใน 50 ของ Outstanding Medical Physicist ของโลก เนื่องในวาระครบ 50 ปีขององค์กรฟิสิกส์การแพทย์นานาชาติ โดยมีการ ประกาศผลที่เมืองไบรตัน ประเทศสหราชอาณาจักร เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 นับได้ว่าท่านเป็นนักฟิสิกส์การแพทย์ สตรีคนแรกของประเทศไทยและทวีปเอเชีย ที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณสาขาฟิสิกส์การแพทย์ดังกล่าว และนำชื่อเสียง มาสู่องค์กรทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย