งานทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัย

งานทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัย

Screen Shot 2558-03-03 at 5.26.10 PMนับตั้งแต่อดีต งานทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัยได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งเป็นเหตุผลที่ ทำให้บุคลากรทางด้านรังสีเทคนิคไม่เพียงพอต่องานที่ขยาย จนกระทั่งในช่วงปี พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2529 จึงได้มีการ รับพยาบาลซึ่งจบอนุปริญญาพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยเพิ่มมาอีก และได้พิจารณาผู้ที่ทำงานตำแหน่งผู้ช่วย แรงรายวันจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยที่สนใจงานทางรังสี เพื่อมาเรียนรู้งานด้านรังสีโดยตรง ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยงานทางรังสีและทำงานร่วมกับพยาบาลและเจ้าหน้าที่รังสี เทคนิค ต่อมาภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยามี ความเห็นว่า สมควรให้ผู้ช่วยแรงรายวันมีโอกาสศึกษาต่อทางด้านรังสีอย่างเต็มรูปแบบ แต่เนื่องจากสถาบันบางแห่งที่ เปิดสอนอยู่ในขณะนั้นได้กำหนดเกณฑ์ผู้ที่เข้ามาศึกษาต้องจบการศึกษาสายวิทยา ศาสตร์มาก่อน และในขณะนั้น ภาค/ฝ่ายรังสีวิทยาก็มีความต้องการบุคลากรทางด้านรังสีเทคนิคมารองรับงานทาง ด้านรังสีวิทยาวินิจฉัยที่มีการขยายตัว อย่างต่อเนื่อง ภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยาจึงร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดโรงเรียนรังสีเทคนิค โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยขึ้น ที่ฝ่ายรังสีวิทยาและได้เริ่มเปิดสอนนักศึกษารุ่นแรกเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2525 ซึ่งการก่อตั้งโรงเรียนรังสีเทคนิค โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยได้ช่วยบรรเทาปัญหาการขาด แคลนบุคลากรทางด้านรังสีเทคนิคให้น้อยลง ดังนั้น พยาบาลที่เข้ามาทำงานในฝ่ายรังสีวิทยาในช่วงหลังจึงเน้นงาน ในส่วนของการพยาบาลผู้ป่วยที่เข้ามารับการบริการของฝ่ายรังสีวิทยาเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตาม พยาบาลที่มีความ เชี่ยวชาญทางด้านรังสีเทคนิคอยู่เดิมก็จะได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายรังสี วิทยาให้ปฏิบัติงานทางด้านรังสีเทคนิคจนกระทั่งครบอายุเกษียณราชการ

ในปี พ.ศ. 2529 เริ่มมีนักรังสีเทคนิคซึ่งจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ เข้ามาทำงานให้กับฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยและเป็นช่วงที่ภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยา มีการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และต่อมาก็มีการติดตั้งเครื่องสร้างภาพด้วยคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก (Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI) และขยายงานทางด้านรังสีร่วมรักษา (Interventional Radiology) โดยในช่วงดังกล่าวจนถึงปัจจุบันภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยาได้มีการสนับสนุนให้ นักรังสีเทคนิคได้มีโอกาสในการไปฝึกอบรมดูงานที่ประเทศฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และสาธารณรัฐเกาหลีเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริการทางการแพทย์ ให้ทัดเทียมนานาชาติมากยิ่งขึ้น

แม้ว่าภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยาจะมีบุคลากรทางด้านรังสีเทคนิคมากขึ้นก็ตาม แต่บุคลากรทางด้านรังสีเทคนิค ส่วนใหญ่ยังเป็นเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิค (หลักสูตร 2 ปีเทียบเท่าระดับอนุปริญญา) ซึ่งกฎหมายในปัจจุบันได้กำหนดวุฒิ บุคลากรทางด้านรังสีเทคนิคว่าต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารังสีเทคนิค และต้องมีใบประกอบวิชาชีพ เวชกรรมจึงจะสามารถปฏิบัติงานทางด้านรังสีเทคนิคได้ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งส่งผลต่อบุคลากรที่จบเพียงวุฒิ อนุปริญญาซึ่งครองตำแหน่งเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคและถูกลดบทบาทลง ดังนั้นในระยะหลังภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยา จึงได้สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคที่ทำงานอยู่เดิม และเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคที่กำลังจะจบจากโรงเรียนรังสีเทคนิค โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้มีการศึกษาต่อยอดเพื่อปรับวุฒิจากเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ให้เป็น นักรังสีเทคนิค จนถึงปัจจุบันงานบริการทางด้านรังสีเทคนิคก็ยังคงมีปริมาณเพิ่มขึ้นในทุกปี ประกอบกับความเจริญ ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัยรวมถึงกฎหมายที่ รัดกุมเข้มงวดมากขึ้น ทำให้ภาวะ การขาดแคลนนักรังสีเทคนิคทั่วประเทศยังคงเป็นปัญหาของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลทั่วประเทศจวบจน กระทั่งปัจจุบันนี้