งานด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์

งานด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์

a3

สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2502 เริ่มจากการเป็นหน่วยไอโซโทปส์มีบุรุษพยาบาลทำหน้าที่ใช้และให้สาร กัมมันตรังสีกับผู้ป่วยภายใต้การควบคุมของ รังสีแพทย์และควบคุมเครื่องอัพเทคและเครื่องสแกน และมีนักวิทยาศาสตร์ทำการตรวจเลือดในห้องปฏิบัติการและ ช่วยดูแลงานสแกนภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์

ในปี พ.ศ. 2529 เริ่มมีนักรังสีเทคนิคที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดลเข้ามาปฏิบัติ งานทางด้านนี้ เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ที่นำเข้ามาใช้ในสาขาในขณะนั้น นั่นคือเครื่อง SPECT (Single Photon Emission Computed Tomography) ซึ่งได้ติดตั้งในปี พ.ศ. 2531 และนักรังสีเทคนิคได้รับการสนับสนุนการฝึกอบรมใน ระดับชาติและนานาชาติ (IAEA fellowship) ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อเป็นกำลังในการพัฒนางานรังสี เทคนิคสำหรับงานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ และผลิตเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคของโรงเรียนรังสีเทคนิค โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อีกทั้งควบคุมดูแลนักศึกษารังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยนเรศวรในการฝึกปฏิบัติ งานด้านรังสีเทคนิคในงานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ และเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมนักรังสีเทคนิคทั้งในและต่างประเทศ

จวบจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาโรงเรียนรังสีเทคนิค โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเข้ารับทุนเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เมื่อจบหลักสูตรก็เข้าปฏิบัติงานในสาขา และมีการรับนักศึกษาทุนเข้าทำงานในทุกปี จนถึงปี พ.ศ. 2553 บุรุษพยาบาลจึงถูกลดบทบาทในงานส่วนนี้ เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคและนักรังสีเทคนิคปฏิบัติหน้าที่ตรงตาม สายงาน ตามพระราชบัญญัติการประกอบ โรคศิลปะ พ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2545 และพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ทำให้มีผลต่อบุคลากรทางด้านรังสีเทคนิคที่ต้องจบการศึกษาระดับ ปริญาตรีสาขารังสีเทคนิคและต้องมีใบประกอบโรคศิลปะจึงจะสามารถปฏิบัติงาน ด้านรังสีเทคนิคได้ ทางสาขา เวชศาสตร์นิวเคลียร์จึงจัดวางแผนพัฒนาบุคลากรในระยะยาว โดยสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคศึกษาต่อยอด เพื่อปรับวุฒิให้เป็นนักรังสีเทคนิค และให้นักรังสีเทคนิคได้เข้าร่วมประชุมวิชาการและฝึกอบรมทางรังสีวิทยาทั้ง ใน และต่างประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางวิชาการและการให้บริการในงานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่ได้ มาตรฐานในระดับชาติ และนานาชาติต่อไป