การพัฒนาการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษาหลังปริญญา (Postgraduate Education)

การพัฒนาการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษาหลังปริญญา (Undergraduate Education)

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิกสาขาวิชารังสีวิทยา

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง คือหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านเรียกว่า “หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต ชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิกสาขา วิชารังสีวิทยา” ซึ่งแบ่งย่อยเป็น 4 แขนงวิชา ได้แก่

  1. แขนงวิชารังสีวิทยาทั่วไป
  2. แขนงวิชารังสีวิทยาวินิจฉัย
  3. แขนงวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
  4. แขนงวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์

หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตร 3 ปี โดยในปีแรกนิสิตหลังปริญญาจะต้องผ่านการศึกษาในสาขาย่อยทั้ง 3 สาขา เหมือนกันทั้งหมดเพื่อให้มีพื้นฐานความรู้ทางด้านรังสีวิทยาและรังสี ชีววิทยา ในปลายปีที่ 1 นิสิตหลังปริญญาจะต้อง ทำการสอบวิชาที่ได้รับการศึกษาในระหว่างปีให้ผ่านเพื่อรับ “ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก” จากนั้นในปีที่ 2 และ 3 นิสิตหลังปริญญาจะได้รับการศึกษาเน้นเฉพาะแขนงวิชาที่ตัวเองเลือกเรียน ส่วนแขนงรังสีวิทยา ทั่วไป ก็จะต้องผ่านไปศึกษาในสาขาวิชาทั้ง 3 อย่างละเอียดมากขึ้น ในปลายปีที่ 3 นิสิตหลังปริญญาจะต้องผ่านการ สอบอีกครั้งหนึ่งเพื่อรับ “วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม” ในแขนงวิชาที่เรียน และจะได้รับ “ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขารังสีวิทยา” จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงได้มีการพัฒนาดังนี้

  • พ.ศ. 2515
    มีการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเป็นครั้งแรก 2 สาขา โดยเป็นสาขารังสีวิทยาทั่วไป 2 คน  และหลักสูตร สาขา รังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ 1 คน (เป็นหลักสูตรร่วมของ สาขารังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์)
  • พ.ศ. 2518
    เริ่มมีการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขารังสีวิทยาวินิจฉัย
  • พ.ศ. 2528
    มีการยุบการฝึกอบรมหลักสูตรสาขารังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • พ.ศ. 2530
    เริ่มมีการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขารังสีรักษา
  • พ.ศ. 2531
    เริ่มมีการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • พ.ศ. 2536
    แพทย์ประจำบ้านปีที่ 1 เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขารังสีวิทยาของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2537
    มีศักยภาพจำนวนการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขารังสีวิทยาจากแพทยสภาสำหรับ

    • สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย 12 ตำแหน่ง
    • สาขารังสีวิทยาทั่วไป 10 ตำแหน่ง
    • สาขารังสีรักษา 2 ตำแหน่ง
    • สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ 2 ตำแหน่ง
  • พ.ศ. 2540
    ลดจำนวนศักยภาพจำนวนการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขารังสีวิทยาทั่วไปเหลือ 9ตำแหน่ง โดยโอนให้ภาควิชารังสีวิทยามหาวิทยาลัยขอนแก่น 1 ตำแหน่ง
  • พ.ศ. 2542
    ลดจำนวนศักยภาพจำนวนการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขารังสีวิทยาทั่วไปเหลือ 8ตำแหน่ง โดยโอนให้ภาควิชารังสีวิทยามหาวิทยาลัยขอนแก่นอีก 1 ตำแหน่ง
  • พ.ศ. 2546
    เริ่มใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขารังสีวิทยาใน 2 แขนงวิชา คือ แขนงวิชารังสีวิทยาวินิจฉัยและแขนงวิชารังสีวิทยาทั่วไปกับแพทย์ประจำบ้านปี ที่ 2 และปีที่ 3 โดยแพทย์ประจำบ้าน ชั้นปีที่ 1 ยังเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์คลินิก สาขารังสีวิทยาดังเดิม เริ่มใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขารังสีรักษาและ หลักสูตรฯ สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ กับแพทย์ประจำบ้านปีที่ 2 และปีที่ 3
  • พ.ศ. 2548
    เพิ่มศักยภาพจำนวนการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาเป็น 4 ตำแหน่ง
  • พ.ศ. 2550
    ปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชารังสีวิทยา  สาขาวิชารังสีรักษา และสาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โดยรวมทั้ง 3 หลักสูตรให้เป็นหลักสูตรป.บัณฑิตชั้นสูง สาขาวิชารังสีวิทยา เหลือเพียงหลักสูตรเดียว ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวมี 4 แขนงวิชาได้แก่ แขนงวิชารังสีวิทยาทั่วไป, แขนงวิชารังสีวิทยาวินิจฉัย, แขนงวิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา และแขนงวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (โดยยังคงใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทาง วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สำหรับแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 2 – 3 และยังคงใช้หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สำหรับแพทย์ประจำบ้าน
    ชั้นปีที่ 1)
  • พ.ศ. 2552
    มีการปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ คลินิก        สาขาวิชารังสีวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง 2552)โดยรวมรายวิชาของหลักสูตรประกาศนียบัตร บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขารังสีวิทยาเข้าไว้ในหลักสูตรประกาศนียบัตร บัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิกสาขารังสีวิทยา ดังนั้นแพทย์ประจำบ้านทั้ง 3 ชั้นปี ใช้หลักสูตรเดียวกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
  • พ.ศ. 2556
    ปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชารังสีวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง 2556) เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2552  (มคอ.2) ซึ่งหลักสูตรปรับปรุงดังกล่าวมี 3 แขนง ได้แก่ แขนงวิชารังสีวิทยาวินิจฉัย, แขนงวิชา รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา และแขนงวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โดยยกเลิกการฝึกอบรมแขนง รังสีวิทยาทั่วไป
  • พ.ศ. 2556
    ในปีการศึกษา 2557 ภาควิชารังสีวิทยาจะปิดรับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขารังสีวิทยาทั่วไป เพื่อให้สามารถรองรับกับงานบริการทางการแพทย์ และสอดคล้องกับหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขารังสีวิทยาวินิจฉัย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2556) จากเดิมที่รับได้ 12 ตำแหน่งเพิ่มเป็น 24 ตำแหน่ง