หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฉายาเวชศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฉายาเวชศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2545 เริ่มเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฉายาเวชศาสตร์ (วท.ม. สาขา วิชาฉายาเวชศาสตร์) มีกำลังการผลิตนิสิต 6 คนต่อปี โดยเป็นความร่วมมือกับภาควิชานิวเคลียร์เทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและได้รับความสนับสนุนจากทบวงพลังงานปรมาณูระหว่าง ประเทศ (IAEA) โดยการส่งผู้เชี่ยวชาญในการประเมินและพัฒนาหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฉายาเวชศาสตร์เป็นหลักสูตร 2 ปีที่นิสิตปริญญาโทจะได้เรียนรู้ ถึงหลักการขั้นพื้นฐานถึงขั้นสูงเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสร้างภาพทางการแพทย์ ทั้งทางด้านเทคนิคและการใช้ในทาง คลินิกซึ่งมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น Digital radiology (DR), Computed tomography (CT), Magnetic resonance imaging (MRI), SPECT (Single Photon Emission Computed Tomography), PET – CT (Positron Emission Tomography – Computed tomography) และอื่นๆ หลักสูตรมุ่งเน้นในเรื่องปริมาณรังสีที่ ผู้ป่วยได้รับให้สอดคล้องกับคุณภาพของภาพรังสีที่พอเหมาะ (optimization) ตลอดจนการสร้างเกณฑ์วิธี (protocol) ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยและเครื่องมือสร้างภาพ เช่น เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และเครื่องเอกซเรย์ทางรังสีร่วมรักษาที่ให้ ปริมาณรังสีสูงแก่ผู้ป่วย นอกจากนี้นิสิตจะต้องควบคุมคุณภาพของเครื่องมือต่างๆ ในระดับฟิสิกส์การแพทย์ก่อนลงมือ เก็บข้อมูลสำหรับงานวิจัย

ปัจจุบันหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฉายาเวชศาสตร์ ผลิตมหาบัณฑิตจำนวน 43 คนไป ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยต่างๆ กระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนโรงพยาบาลเอกชนและเป็นที่ยอมรับ ในวงการฟิสิกส์การแพทย์และรังสีวิทยาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน โดยมีนิสิตจากประเทศ อาเซียนศึกษาในหลักสูตรแล้ว 4 คน และมีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน