รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงมาคุ้มครอง โปษยะจินดา (30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533)
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงมาคุ้มครอง โปษยะจินดา สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตในปี พ.ศ. 2502 และเป็นแพทย์จุฬาฯ รุ่นที่ 9 โดยหลังจากที่ท่านจบการศึกษาเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ได้ปฏิบัติงานในหน่วยไอโซโทปส์ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์และสาขาเวชศาสตร์ นิวเคลียร์ตามลำดับในปัจจุบัน
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงมาคุ้มครอง โปษยะจินดา นับเป็นผู้บุกเบิกงานสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับรองศาสตราจารย์ นายแพทย์วิชัย โปษยะจินดา ซึ่งในระยะ เริ่มแรกนั้น ท่านต้องอุทิศกำลังกายและเวลาเป็นอย่างมากเพื่อที่จะพัฒนางานด้านเวชศาสตร์ นิวเคลียร์ ให้เป็น ที่รู้จักแก่บรรดาแพทย์ทั้งหลายทั้งภายในคณะและนอกคณะ ซึ่งในปัจจุบันสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือได้ว่ามีความเจริญก้าวหน้าอยู่ในระดับแนวหน้า เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลงานและการวางรากฐานมาจากการทำงานอย่างมุ่งมั่น และจริงจังของท่านและผู้สนับสนุนที่ เข้มแข็ง (รศ.นพ.วิชัย โปษยะจินดา) โดยท่านเป็นผู้ที่นำสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์เข้าไปให้เป็นที่รู้จักและยอม รับในความ สามารถและผลงานวิจัยในต่างประเทศโดยเฉพาะทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ซึ่งได้ให้ความ ช่วยเหลือด้านเครื่องมือ ผู้เชี่ยวชาญ และเงินทุนสนับสนุนโครงการวิจัยต่างๆ ตลอดจนการจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ นอกจากนี้ยังไว้วางใจส่งผู้รับทุนจากทบวงการฯมาดูงานและฝึกอบรมที่สาขา เวชศาสตร์ นิวเคลียร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนั้นแล้ว ท่านยังได้สนับสนุนสาขารังสีรักษาในการขอความช่วยเหลือด้านผู้เชี่ยวชาญจาก ทบวงการ พลังงานปรมาณูระหว่างประเทศมาช่วยงานด้านการใช้เครื่องเร่งอนุภาคในการรักษา ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงมาคุ้มครอง โปษยะจินดา นอกจากจะมีความรู้ความสามารถในด้านวิชาการและ มีผลงานด้านการวิจัยมากมายแล้ว ท่านก็ยังเป็นผู้บริหารที่มีความสามารถ มีความรอบรู้และสามารถตัดสินใจได้อย่าง ถูกต้อง และได้เคยดำรงตำแหน่งบริหารต่างๆ ได้แก่ หัวหน้าสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์, รองคณบดีฝ่ายวิจัย, หัวหน้า ภาควิชารังสีวิทยา, อนุกรรมการพลังงานปรมาณูในกิจการแพทย์, ประธานคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ ความรู้ความชำนาญสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ของแพทยสภา และนายกสมาคมเวชศาสตร์นิวเคลียร์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
ท่านอาจารย์มาคุ้มครองคือบุคคลหนึ่งที่ได้ อุทิศตนทำงานหนักมาตลอดชีวิตรับราชการ โดยเฉพาะในช่วงที่ ท่านทำหน้าที่หัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา ในปี พ.ศ. 2529 – 2533 และยังทำหน้าที่รองคณบดีฝ่ายวิจัยด้วย (พ.ศ. 2528 – 2531) ซึ่งในแต่ละวันท่านจะทำงานตั้งแต่เช้าจรดเย็นโดยไม่มีวันหยุดเสาร์และ อาทิตย์ เนื่องจากภาควิชารังสีวิทยา มีขอบข่ายของงานกว้างขวางมาก
สำหรับผลงานที่น่าภาคภูมิใจของท่านในช่วงที่ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา คือ การก่อสร้าง อาคารเอลิสะเบธ ซึ่งเป็นอาคารสำหรับเครื่องเร่งอนุภาคสำหรับการรักษาโรคมะเร็ง โดยเป็นอาคารที่มี ความสมบูรณ์ แบบทั้งด้านการใช้งานและความสวยงาม และหลังจากที่ท่านดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาคฯ ครบ 4 ปีแล้ว อาจารย์ส่วนใหญ่ ต้องการให้ท่านดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาคฯ ต่ออีกวาระหนึ่งแต่ท่านก็ปฏิเสธและพวกเราก็ไม่กล้าที่ จะขอร้องให้ท่าน เสียสละทำงานหนักต่อไปอีก ซึ่งหลังจากที่ท่านไม่ได้ทำหน้าที่หัวหน้าภาคฯ แล้ว แต่ท่านก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำด้านบริหารแก่ภาควิชารังสีวิทยาและสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ นอกจากนี้ท่านยังทำ หน้าที่สอนนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน รวมถึงการบริการผู้ป่วยดังเช่นอาจารย์คนอื่นๆ และสิ่งที่เราจะลืมไม่ได้ก็คือ ท่านได้ใช้ความสามารถ จัดหาเครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone densitometer) เป็นเครื่องแรกของประเทศไทย เพื่อใช้ในการสอน และให้บริการแก่ผู้ป่วยและถึงแม้ว่าท่านจะเกษียณอายุราชการไปแล้ว แต่ท่านก็ยังคงอุทิศเวลามาช่วยตรวจและให้ บริการผู้ป่วยโรคไทรอยด์ รวมถึงการสอนแพทย์ประจำบ้านและเป็นที่ปรึกษาแก่คณาจารย์ในสาขาเวชศาสตร์ นิวเคลียร์ อย่างสม่ำเสมอจนถึงปัจจุบัน