รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เกียรติ อาจหาญศิริ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 – 30 กันยายน พ.ศ. 2556)
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เกียรติ อาจหาญศิริ สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2525 ต่อมาท่านก็ได้รับประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร การแพทย์คลินิก สาขารังสีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2529 และจากนั้นท่านก็ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขารังสีวิทยาแพทยสภา/ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2531 และได้รับหนังสืออนุมัติบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขารังสีร่วมรักษาของลำตัว แพทยสภาในปีพ.ศ. 2547 และได้รับหนังสืออนุมัติบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขาภาพวินิจฉัยชั้นสูงแพทยสภา ในปี พ.ศ. 2548
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เกียรติ อาจหาญศิริ เริ่มต้นเข้ารับราชการที่ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2533 จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยตลอดระยะเวลาที่ท่านได้รับราชการนั้น ท่านได้ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์สุจริต และมีจิตใจโอบอ้อมอารี ในด้านการสอน ท่านก็ได้ทุ่มเททั้ง แรงกายและแรงใจให้กับการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดอย่างจริงจัง ซึ่งนอกเหนือจากการสอนทางวิชาการแล้ว ท่านก็มักจะสอดแทรกความรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรมให้กับนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด รวมทั้งนิสิตปริญญาโท ซึ่งถือเป็นแบบอย่างที่ดีที่อาจารย์แพทย์รุ่นหลัง ควรพึงปฏิบัติตาม สำหรับงานทางด้านวิจัย ท่านได้ทำผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารทั้งในและนอกประเทศ ส่วนงาน ด้านการบริหาร ท่านได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา และเป็นผู้บริหารที่มีความมุ่งมั่น ขยันหมั่นเพียร โดยตลอด ระยะเวลาที่ท่านดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯ คณะแพทยศาสตร์ และหัวหน้าฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ท่านได้ทำการพัฒนาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านบุคลากร ซึ่งท่านได้สนับสนุนให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่ ได้ไปศึกษาดูงานและฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ทั้งในและนอกประเทศ ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ ท่านก็ได้พยายามจัดหา เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย เช่น เครื่องสร้างภาพด้วยคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก (MRI) เครื่องเอกซเรย์ตรวจวินิจฉัย หลอดเลือด เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ รวมถึงการพัฒนาระบบ PACS และ RIS เป็นต้น ส่วนด้านการบริการ ท่านก็ได้จัด ให้มีการให้บริการผู้ป่วยที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนาการบริการ เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยพยายามลดขั้นตอนในการทำเอกซเรย์และนอกเหนือจากการพัฒนางานในด้านต่างๆ แล้วท่านก็ยังเป็นผู้ที่มีความ เมตตากรุณาต่อผู้ร่วมงานและเจ้าหน้าที่ทุกระดับในภาควิชาฯและฝ่ายรังสีวิทยา รวมทั้งศิษย์มากมายซึ่งจากคุณสมบัติ ดังกล่าวจึงทำให้ท่านได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่นของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประจำปีพ.ศ. 2552 และได้รับพระราชทานเกียรติบัตร “จริยธรรมสรรเสริญ” จากแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. 2554
ตลอดช่วงระยะเวลาที่รองศาสตราจารย์นายแพทย์ เกียรติ อาจหาญศิริ ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชา/ฝ่าย รังสีวิทยา นับเป็นช่วงเวลาที่ภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยามีการขยายงานออกไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่เผชิญกับ ภาวะวิกฤตทางการเมืองในปี พ.ศ. 2553 และภาวะน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2554 แต่ถึงกระนั้นก็ตามท่านก็ยัง สามารถประคับประคองสถานการณ์ให้ผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตต่างๆ มาได้ด้วยดี ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะท่านมีความมุ่งมั่น ในการพัฒนาด้วยความตั้งใจและความทุ่มเท จึงไม่น่าแปลกที่เรามักจะเห็นท่านทำงานล่วงเวลาอยู่บ่อยๆแม้ว่าในช่วง ระยะเวลาหนึ่งที่ท่านประสบปัญหาทางด้านสุขภาพและต้องได้รับการผ่าตัด แต่ท่านก็ยังคงทุ่มเทให้กับงานเท่าที่ท่านจะ สามารถทำได้ในช่วงระยะเวลาที่ท่านยังอยู่ในช่วงพักฟื้น สำหรับเราทุกคนท่านเป็นคนสุภาพ คุยสนุก และเป็นที่รักใคร่ของบุคลากรทั้งในและนอกภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยา และยังเป็นผู้ที่มีจิตเมตตาต่อผู้ป่วยที่มารับการตรวจทางรังสีวิทยาวินิจฉัย เป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากหลายๆครั้งที่เกิดการขาดแคลนบุคลากรในการออกตรวจให้บริการ ผู้ป่วยซึ่งท่านก็จะเป็น ผู้อาสาที่จะทำงานบริการในช่วงที่มีการขาดแคลนช่วงนั้นๆ แม้ว่าท่านจะมีงานบริหารที่ยุ่งเพียงใดก็ตาม ทำให้ผู้ป่วย ไม่ขาดโอกาสที่จะได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นท่านยังให้ความสนิทสนมกับผู้ร่วมงานและเจ้าหน้าที่ ทุกระดับโดยไม่ถือตัว ดังเช่นในงานเกษียณของเจ้าหน้าที่แต่ละคน ท่านก็สามารถพูดถึงเจ้าหน้าที่คนนั้นได้อย่างเป็น ธรรมชาติและสนุกสนาน จึงนับได้ว่าคุณงามความดีที่ท่านได้ทำให้กับภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยา คือตัวอย่างที่ดีที่จะเป็น แม่แบบให้กับบุคลากรในภาควิชา/ ฝ่ายรังสีวิทยาได้เจริญรอยตามสืบเนื่องต่อไป