รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ศีลวัต อรรถจินดา

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ศีลวัต อรรถจินดา (1 สิงหาคม พ.ศ. 2522 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525)

pic20รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ศีลวัต อรรถจินดา ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าแผนกรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในช่วงระหว่างปี    พ.ศ. 2522 – 252 ท่านอาจารย์ศีลวัตเป็นคนกรุงเทพมหานครโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2473 โดยหลังจากที่ ท่านสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ธนบุรีและสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ได้เข้ามาเป็นนิสิตแพทย์จุฬาฯ และจบการศึกษารุ่นที่ 5 โดยได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2497 หลังจากนั้นท่านจึงได้เดินทาง ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านสาขารังสีวิทยาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 – 2505 โดยได้เข้า รับการฝึกอบรมใน 3 โรงพยาบาล ได้แก่ Newton Wellesley Hospital, Newton Lower Falls มลรัฐแมสซาชูเซตส์ Cook County Hospital, Chicago มลรัฐอิลลินอยส์ และ Hartford Hospital เมืองฮาร์ตฟอร์ด มลรัฐคอนเนตทิคัต จนสามารถสอบได้เป็นผู้เชี่ยวชาญแขนงวิชารังสีวิทยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (Diploma of American Board of Radiology) หลังจากนั้นท่านจึงได้เดินทางกลับมาประเทศไทยและรับราชการเป็นอาจารย์ประจำ ในแผนกรังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2506 หลังจากที่ท่านได้ผ่านการ ฝึกงานในด้านการสอนอีก 1 ปีในตำแหน่ง Clinical Instructor in Radiology ที่ Yale University Medical Center, New Heaven มลรัฐคอนเนตทิคัต ประเทศสหรัฐอเมริกา

pic21

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย ณ ห้องตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ (CT 8800 บริษัทยีอี เมดิคอล ซิสเต็ม (ประเทศไทย) จำกัด) อาคารจุลจักรพงษ์ ชั้น 1 เม่ือวันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2524 โดยมีรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ศีลวัต อรรถจินดา เฝ้าฯ รับเสด็จ

ท่านอาจารย์ศีลวัตถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีความ มุ่งมั่นในด้านการพัฒนาวิชาการ พิสูจน์ได้จากผลงานทุกชิ้นที่อาจารย์ ลงมือทำจะต้องเป็นผลงานที่มีคุณภาพ อีกทั้งท่านอาจารย์ยังเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นคนคิดเร็ว ตัดสินใจ และลงมือทำเร็ว แต่เมื่อได้ลงมือทำแล้วก็จะปรับจังหวะการทำงานให้ช้าลงด้วยความประณีต นอกจากนั้นท่านอาจารย์ ยังเป็นผู้มีศิลปะในการถ่ายภาพมากเป็นพิเศษ ซึ่งนับเป็นคุณสมบัติที่ดีของรังสีแพทย์วิทยาวินิจฉัยประกอบกับความรู้ ที่ดีมากทางด้านรังสีฟิสิกส์ทำให้ท่านอาจารย์เป็นที่เลื่องลือในด้านความ สามารถในการตรวจทางเดินอาหารและการตรวจหลอดเลือดโดยใช้เครื่องเอกซเรย์ฟลูออ โรสโคป ซึ่งสามารถผลิตภาพวินิจฉัยได้สวยงามเป็นเลิศ ทำให้สามารถแปลผล การวินิจฉัยได้ถูกต้องและแม่นยำมาก เป็นที่ชื่นชมของแพทย์ผู้รักษาผู้ป่วยและเป็นแบบอย่างของศิษย์และเพื่อน ร่วมงานมาโดยตลอด

ในด้านหนึ่งของการทำงาน ท่านอาจารย์จะไม่รั้งรอในการสอนสิ่งที่ถูกต้องทั้งในด้านวิชาการและจริยธรรม แม้ว่าโดยบุคลิกของท่านอาจารย์จะเป็นคนพูดจาเสียงดัง แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการจดจำเพื่อไม่ให้เกิดการ ผิดพลาดอีกซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากโดยเฉพาะสำหรับงานที่ต้องมีผู้ป่วย เกี่ยวข้องด้วยงานคุณภาพ นอกจากนั้นผลงาน ทางด้านวิชาการและงานวิจัยของอาจารย์ยังได้รับการตีพิมพ์ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ โดยเฉพาะผลงานทางด้าน การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วยภาพวินิจฉัย ตลอดระยะเวลาที่ท่านอาจารย์เป็นอาจารย์อยู่ในแผนก รังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสังกัด ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา

pic22

คงไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่า ท่านอาจารย์เป็นผู้หนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางวิชาการอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากการที่ ท่านอาจารย์ได้อุทิศเวลาเป็นบรรณาธิการและอยู่ในกองบรรณาธิการของวารสารทาง การแพทย์ ในอดีตหลายฉบับใน ประเทศไทย เช่น รังสีวิทยาสาร จุฬาลงกรณ์เวชสาร จดหมายเหตุทางการแพทย์ เป็นต้น

ระหว่างที่ท่านอาจารย์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาค วิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าแผนกรังสีวิทยา (ปัจจุบันเป็นฝ่ายรังสีวิทยา) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยนั้นท่านก็ได้แสดงให้ เห็นถึงความเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์สูง ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีทางการวินิจฉัยด้วยภาพใหม่ๆ เข้ามาใช้ในโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ เพื่อเป็นการขยายงานของภาควิชาฯ เช่น เครื่องอัลตราซาวนด์และเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography) และมีการก่อสร้างอาคารจุลจักรพงษ์แทนที่อาคารรัตนสังวาลย์เดิม เพื่อให้เป็นที่ติดตั้งของเครื่องเอกซเรย์

คอมพิวเตอร์ดังกล่าว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคารอย่างเป็นทางการและทอดพระเนตร เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2524

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ศีลวัต อรรถจินดา นับได้ว่าเป็นผู้มีคุณูปการแก่ภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเป็นอย่างยิ่ง ทั้งต่อองค์กร ศิษย์ เจ้าหน้าที่/นักรังสีการแพทย์ ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น จนทุกคน เรียกขานท่านอาจารย์ว่า “อาจารย์เตี่ย” ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อของบ้านหลังนี้