ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพิศมัย อร่ามศรี

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพิศมัย อร่ามศรี (26 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2522)

pic19ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพิศมัย อร่ามศรี หรือ “อาจารย์หมอเล็ก” ได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลเมื่อปี พ.ศ. 2493 และได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ในแผนกรังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2495 ท่านได้เดินทางไปศึกษา เพิ่มเติมและได้รับ Diploma of American Board of Radiology เมื่อปี พ.ศ. 2500 ท่านยังได้รับทุนไปดูงานทำการวิจัยและเข้าร่วมประชุมทางวิชาการทางด้าน รังสีรักษา ณ ต่างประเทศ ทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา และเอเชีย ซึ่งนั่นก็ยิ่ง ทำให้หน่วยรังสีรักษาเป็นที่รู้จักและนิยมในกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญงานด้าน รังสีรักษาในระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น

ศาสตราจารย์แพทย์หญิงพิศมัย อร่ามศรี ได้ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชารังสีวิทยาเป็นระยะเวลานานถึง 9 ปี และได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ในสาขาวิชารังสีวิทยาในปี พ.ศ. 2524 นอกจากนั้นท่านยังได้ รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาวชิรมงกุฎในปี พ.ศ. 2527 และ เกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2530

ในช่วง ระหว่างรับราชการ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง พิศมัย อร่ามศรีได้นำเครื่องฉายรังสีโคบอลต์มาใช้ใน การรักษาโรคมะเร็งเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2502 โดยได้รับบริจาคเครื่องมือจากสภากาชาดและ สภาเสี้ยววงเดือนแดงของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ต่อมาในปี พ.ศ. 2507 ท่านได้นำเครื่องฉายรังสี โคบอลต์รุ่นใหม่ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ ทันสมัยยิ่งขึ้นมาใช้ โดยได้รับบริจาคมาจากรัฐบาลประเทศแคนาดา ในระยะต่อมา เมื่อสารกัมมันตรังสีโคบอลต์ของ สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตสลายตัว จนกระทั่งความแรงของต้นกำเนิด รังสีมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องฉายรังสีโคบอลต์ มาให้ใหม่

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพิศมัย อร่ามศรี นับได้ว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการวางระบบการป้องกันอันตราย จากรังสี โดยท่านเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมรังสีรักษาในปี พ.ศ. 2529 และดำรงตำแหน่งนายกสมาคมรังสีรักษาเป็นคนแรก ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสมาคมฯ

ตลอดระยะเวลาที่รับราชการ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงพิศมัย อร่ามศรี ได้อุทิศตนเพื่อการพัฒนาความก้าวหน้า ทางวิชาการ ตลอดจนถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์แก่แพทย์รุ่นหลังและนิสิตแพทย์อย่างสม่ำ เสมอตลอดมา และเมื่อเกษียณอายุราชการแล้ว ท่านก็ยังเป็นที่ปรึกษาในด้านรังสีรักษาตลอดมา