รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสมใจ หวังศุภชาติ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 30 กันยายน พ.ศ. 2552)
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสมใจ หวังศุภชาติ สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้นจากโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ และสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียม อุดมศึกษา ก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เกียรตินิยมอันดับ 2) จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสาขาแพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็น ศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ รุ่นที่ 25 ท่านจบวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขารังสีวิทยา วินิจฉัย (โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย) แพทยสภา และ Master Degree in DME: Clinical Epidemiology จาก Mc. Master University, Ontario ประเทศแคนาดา และยังได้รับการฝึกอบรมและดูงานใน สถาบันต่างประเทศหลายแห่งทางด้าน Interventional Radiology, MRI และ Cardiac Imaging
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสมใจ หวังศุภชาติ เข้ารับราชการที่ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2522 และเกษียณอายุราชการเมื่อปี พ.ศ. 2554 โดยตลอดระยะเวลารับราชการ ท่านคือผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านการสอน ด้านการวิจัย และด้านวิชาการโดยเฉพาะความเชี่ยวชาญด้าน รังสีวิทยาวินิจฉัยระบบหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนั้นแล้วท่านยังเป็นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์ สุจริต มีจิตใจ โอบอ้อมอารี และท่านยังได้ทุ่มเทแรงกายและแรงใจให้กับการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอดอย่างจริงจัง อีกทั้งยังมีส่วนร่วมในการสอนระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตร ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ), หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฉายาเวชศาสตร์ และหลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนอกเหนือจาก การสอนทางวิชาการแล้ว ท่านยังได้ปลูกฝังความรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรมให้กับนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด รวมทั้งนิสิตปริญญาโท ซึ่งท่านนับเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านความมีน้ำใจ โอบอ้อมอารี ความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา และการรักษาระเบียบวินัย ดังจะเห็นได้จากการที่ท่านได้รับความชื่นชมและเป็นที่ยอมรับ ทั้งจากนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้านคณาจารย์ เพื่อนร่วมงาน และเจ้าหน้าที่ทุกระดับมาโดยตลอด จึงนับได้ว่าท่านได้ ดำรงตนเป็นอาจารย์แพทย์ที่ดีให้กับนิสิตแพทย์และแพทย์ประจำบ้านได้ยึดถือ เป็นแบบอย่าง พร้อมทั้งอุทิศเวลาเพื่อให้ คำปรึกษาแก่นิสิตแพทย์เมื่อมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การทำงาน ครอบครัว และการวางแผนชีวิตในอนาคต การยอมรับนับถือในฐานะอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของรองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสมใจ หวังศุภชาติ ไม่เพียง แต่จะจำกัดอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น หากแต่ท่านยังได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอกมากมาย อาทิ การที่ท่านได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งเป็นอนุกรรมการพลังงานปรมาณูในกิจการ แพทย์ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ, ประธานคณะทำงานบัญชียาหลักแห่งชาติ สาขารังสีวิทยา กระทรวงสาธารณสุข, อนุกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขารังสีวิทยาวินิจฉัย ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทยและ กรรมการที่ปรึกษาการลงทุนด้านพัฒนาบุคลากรการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางการ แพทย์ในบริการตติยภูมิ ศูนย์โรคมะเร็งแห่งชาติเป็นต้น นอกจากนั้น ท่านยังเป็นผู้ที่มีความสามารถในการสอนและสามารถถ่ายทอดความรู้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ประจักษ์ ดังจะเห็นได้จากการที่ท่านได้รับเชิญจากสถาบันและองค์กรต่างๆ ในการเป็น วิทยากรพิเศษในการประชุมวิชาการและการประชุมเชิงปฏิบัติการซึ่งได้ก่อเกิด เป็นประโยชน์แก่นิสิตแพทย์ แพทย์ทั่วไป รวมทั้งแพทย์ทางระบบหัวใจและหลอดเลือดในการเรียนรู้ด้านการวินิจฉัยด้วยภาพ เป็นอย่างมาก
จากความมุ่งมั่นของท่านที่มีต่อศิษย์ ทำให้รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสมใจ หวังศุภชาติ ได้รับรางวัลยกย่อง เชิดชูเกียรติอาจารย์ด้านการเรียน การสอน “รางวัลอาจาริยมิตต์” ประจำปี พ.ศ. 2554 ของคณะแพทยศาสตร์และ รางวัลอาจารย์แบบอย่างของสภาคณาจารย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประจำปี พ.ศ. 2554
ในด้านงานวิจัย ท่านได้ทำผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารทั้ง ในและนอกประเทศเป็นจำนวนมากและสม่ำเสมอ ส่วนงานด้านการบริหาร ท่านได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าภาควิชารังสีวิทยาถึงสองวาระและได้รับการยอมรับ ว่าเป็นผู้บริหาร ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความมุ่งมั่น และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเสมอ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ท่านดำรงตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ และหัวหน้าฝ่าย รังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ท่านได้มุ่งเน้นในด้านการพัฒนาบุคลากร โดยสนับสนุนให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่ได้ไปศึกษาดูงานและฝึกอบรมเพิ่มพูน ความรู้ทั้งในและนอกประเทศ ส่วนทางด้านเครื่องมือ เครื่องใช้ ท่านก็ได้พยายามจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีความ ทันสมัยอยู่เสมอ ตลอดจนด้านการบริการที่มีการพัฒนาการ ให้บริการผู้ป่วยที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุด อาทิ การริเริ่มโครงการ “Filmless Hospital” ซึ่งเริ่ม ด้วยการจัดซื้อระบบ PACS เป็นต้น นอกเหนือจากการพัฒนา งานในด้านต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ท่านก็ยังเป็น ผู้ที่มีความเมตตากรุณาต่อผู้ร่วมงานและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ในภาควิชารังสีวิทยาและฝ่ายรังสีวิทยา รวมทั้งศิษย์จำนวนมาก ซึ่งจากคุณสมบัติทั้งหมดนี้จึงทำให้ท่านได้รับรางวัล บุคลากรดีเด่นประเภทผู้บริหารหน่วยงานของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ประจำปี พ.ศ. 2546
แม้ว่าท่านจะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554 แต่ท่านก็ยังคงมีความตั้งใจที่จะช่วย ทำงานให้แก่ภาควิชาฯ โดยเฉพาะการเรียนการสอนทางด้านหัวใจและ หลอดเลือดด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และ เครื่องสร้างภาพด้วยคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก (Magnetic Resonance Imaging) และการบริการการตรวจ วินิจฉัยผู้ป่วยทางเดินอาหารและทางเดินปัสสาวะด้วยเอกซเรย์พิเศษให้แก่โรง พยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย