ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค (พ.ศ. 2490 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2512)

หน่วยรังสีวินิจฉัย (สาขารังสีวิทยาวินิจฉัยในปัจจุบัน)

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค รังสีแพทย์คนแรกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค รังสีแพทย์คนแรกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ในปี พ.ศ. 2490 เมื่อเริ่มมีการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้มีการเปลี่ยนชื่อ “หมวดแสงรัศมี” เป็น “แผนกรังสีวิทยา” และศาสตราจารย์ แพทย์หญิงคุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค ได้เป็นอาจารย์สอนนิสิตแพทย์ตั้งแต่รุ่นแรก

ในปี พ.ศ. 2494 เริ่มทำการตรวจเอกซเรย์หลอดเลือดแดงด้วยการฉีดสารทึบรังสีครั้งแรก

ในปี พ.ศ. 2495 ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงคุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค ได้รับทุน MSA (Mutual Security Agency) เพื่อไปศึกษาอบรมที่ Bellevue Hospital, New York City เป็นระยะเวลา 1 ปี และยังสอบได้ประกาศนียบัตร เป็นผู้เชี่ยวชาญทางรังสีวิทยา (Diplomate of the American Board of Radiology) และด้วยความร่วมมือกับ MSA ในส่วนรังสีวิทยาวินิจฉัยจึงได้เครื่องเอกซเรย์ของบริษัทยีอี เมดิคอล (General Electric) พร้อมด้วย Fluoroscopy และ Spot film device มาใช้งานเป็นเครื่องแรกของประเทศไทย เพื่อการตรวจเอกซเรย์แสดงการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่ ตรวจได้และเริ่มมีการใช้สารทึบรังสีเพื่อการตรวจวินิจฉัยเช่น การวินิจฉัยระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีการตรวจเอกซเรย์ความผิดปกติของหัวใจโดยการสวนหัวใจเป็นครั้งแรกโดยศาสตราจารย์ นายแพทย์สมาน มันตราภรณ์

ในปี พ.ศ. 2499 มีการทำ Aortography เป็นครั้งแรกในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยวิธี translumbar puncture โดยให้การวินิจฉัยผู้ป่วยเป็น Coarctation of abdominal aorta

ในปี พ.ศ. 2500 มีการตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด portal system โดยวิธี Percutaneous splenic portography โดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าในม้ามเป็นครั้งแรก

ในปี พ.ศ. 2501 มีการตรวจ Cerebral angiography และ Pneumoencephalography เป็นครั้งแรก ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดย Dr. Sidney Goldring จาก Barnes Hospital เมือง St. Louisมลรัฐ Missouri ประเทศสหรัฐอเมริกา

pic04

ในปี พ.ศ. 2503 นายสวัสดิ์ โอสถานุเคราะห์ ประธานกรรมการ บริษัทโอสถสภา (เต็กเฮงหยู) ได้สมทบทุน โดยเสด็จพระราชกุศลในการสร้างอาคาร สวัสดิ์ – ล้อม โอสถานุเคราะห์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ ในคราวเสด็จ นิวัตพระนครหลังจากการเสด็จเยือนนานาประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกา และให้ใช้เป็นสถานที่ของแผนกรังสีวิทยาเพื่อ การขยายงานทางด้านรังสีวิทยา ซึ่งในขณะนั้นอาคารอภันตรีปชาไม่สามารถขยายพื้นที่ในการรองรับเครื่องมือทางด้าน รังสีวิทยา ทั้งนี้ อาคารสวัสดิ์ – ล้อม โอสถานุเคราะห์มีลักษณะเป็นอาคาร 3 ชั้น โดยชั้นที่ 1 ใช้เป็นสถานที่ตรวจเอกซเรย์ วินิจฉัย ชั้นที่ 2 ใช้เป็นหอผู้ป่วยรักษาโรคมะเร็งและห้องผ่าตัดใส่แร่ ส่วนชั้นที่ 3 ใช้เป็นหน่วยไอโซโทปส์ ในการนี้ภาควิชา รังสีวิทยาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จ พระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506

ในปี พ.ศ. 2506 ได้มีการตรวจหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำโดยวิธีการแทงเข็มและใส่สายสวนเข้าทาง Femoral artery และ Femoral vein อย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2509 มีการเปิดอาคารจิรกิติ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร ซึ่งชั้นล่างของอาคารดังกล่าว มีหน่วยเอกซเรย์กุมารของแผนกรังสีวิทยาอยู่ด้วย

ในปี พ.ศ. 2510 คณะแพทยศาสตร์ได้เข้าสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงใช้ชื่อ “ภาควิชารังสีวิทยา” เพื่อดูแลในเรื่องการเรียนการสอนของนิสิตแพทย์เป็นหลัก และในขณะเดียวกันก็เป็น “แผนกรังสีวิทยา” โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย เพื่อดูแลเรื่องงานบริการผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ในปี พ.ศ. 2511 มีการก่อสร้างอาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ – สุพิณ ด้วยเงินบริจาคของทายาทโดยมีการ ย้ายเครื่องเอกซเรย์ตรวจระบบหลอดเลือด Biplanes ชนิดเอกซเรย์พร้อมกัน 2 ระนาบของบริษัทซีเมนส์ ซึ่งได้รับบริจาค จากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เมื่อปี พ.ศ. 2505 ไปติดตั้ง ซึ่งเครื่องดังกล่าวได้เสื่อมสภาพและถูกแทนที่ เป็นเครื่อง Neurostar ของบริษัทซีเมนส์ ในปี พ.ศ. 2543 โดยใช้เงินทุนหมุนเวียนรังสีวิทยาวินิจฉัยจัดซื้อเพื่อขยาย งานทางด้านรังสีร่วมรักษาระบบประสาท (Neuro – interventional Radiology) สำหรับอาคารดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบ พิธีเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2514

ในปี พ.ศ. 2511 มีการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์เพื่อการตรวจ Poly-Tomography ของบริษัทฟิลิปส์ ที่อาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ – สุพิณด้วยซึ่งได้จำหน่ายชำรุดไปในปี พ.ศ. 2543

 

หน่วยรังสีรักษา (สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาในปัจจุบัน)

ในปี พ.ศ. 2494 มีการก่อตั้งหน่วยรังสีรักษา สภากาชาดไทย และมีการจัดซื้อเครื่อง Deep x – rays จากบริษัทเยอเนอราลอิเล็คตริก (Maximar 400) สำหรับรักษาโรคมะเร็ง และได้ติดตั้งเครื่องนี้ที่อาคารอภันตรีปชา และมีการจัดซื้อเม็ดแร่เรเดียมพร้อมเครื่องมือสอดใส่แร่เพื่อรักษามะเร็งอวัยวะสตรีซึ่งได้มีการยกเลิกการใช้แร่เรเดียมในปี พ.ศ. 2524 โดยมติขององค์การอนามัยโลก และได้ส่งมอบแร่เรเดียมที่มีอยู่ทั้งหมดจำนวน ประมาณ 1 กรัมมอบคืนให้แก่ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

ในปี พ.ศ. 2496 มีการจัดซื้อเครื่อง Contact x – rays จากบริษัทฟิลิปส์ เพื่อใช้สำหรับการรักษาแผลเป็น keloid

ในปี พ.ศ. 2498 มีการจัดซื้อเครื่อง Superficial x – rays จากบริษัทซีเมนส์ เพื่อใช้สำหรับรักษามะเร็งของ อวัยวะระยะตื้นใกล้ผิวหนัง

ในปี พ.ศ. 2502 มีการติดตั้งเครื่องโคบอลต์ – 60 (GU500) ขนาดความแรง 500 คูรี สำหรับฉายรังสี รักษาผู้ป่วยมะเร็ง โดยได้รับบริจาคจากสภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต โดยเป็นโคบอลต์เครื่องแรกในประเทศไทย ซึ่งเครื่องนี้ถูกใช้งานจนถึงปี พ.ศ. 2507 จึงเปลี่ยนเป็นเครื่องใหม่

ในปี พ.ศ. 2503 มีการสร้างอาคารสวัสดิ์ – ล้อมโอสถานุเคราะห์ ซึ่งเป็นอาคารขนาด 3 ชั้น โดยชั้นที่ 2 ใช้เป็นหอผู้ป่วยรักษาโรคมะเร็งและห้องผ่าตัดใส่แร่

ในปี พ.ศ. 2507 ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ IAEA ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญทางฟิสิกส์ มาจัดตั้งหน่วย Hospital Physics และทำการฝึกนักฟิสิกส์การแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ในปี พ.ศ. 2508 มีการติดตั้งเครื่องโคบอลต์ 60 (Theratron 80) ซึ่งเป็นเครื่องที่มีความแรง 6,000 คูรี โดยได้รับบริจาคจากรัฐบาลแคนาดาโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาในพิธีเปิดอาคารโคบอลต์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2508

pic05

หน่วยไอโซโทปส์ (สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ในปัจจุบัน)

ในปี พ.ศ. 2502 มีการก่อตั้งหน่วยไอโซโทปส์ด้วยความช่วยเหลือของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency หรือ IAEA) โดยในระยะแรกได้จัดซื้อเครื่องมือเฉพาะที่จำเป็นในการตรวจ การทำงานของต่อมไทรอยด์ และรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคน้ำในช่องปอด ทั้งนี้ในระยะเริ่มแรกนั้นหน่วย ไอโซโทปส์ได้ใช้พื้นที่บางส่วนของอาคาร 14 ของภาควิชาเทคนิคการแพทย์ในอดีตและเป็นที่ตั้งของภาควิชา/ฝ่าย เวชศาสตร์ชันสูตรในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2503 มีการสร้างอาคารสวัสดิ์ – ล้อม โอสถานุเคราะห์ ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคาร 3 ชั้น โดยชั้นที่ 3 ถูกใช้เป็นหน่วยไอโซโทปส์

ในปี พ.ศ. 2511 หน่วยไอโซโทปส์ได้รับงบประมาณซื้อเครื่องมือสำคัญคือ Rectilinear scanเพื่อใช้ในการตรวจ อวัยวะต่างๆ และทบวงการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติได้ส่งผู้เชี่ยวชาญคือ Dr. Roger P Ekins มาประจำที่หน่วยงานเป็น ระยะเวลา 6 เดือน โดยท่านได้ให้คำแนะนำช่วยเหลือในด้านต่างๆ รวมทั้งการริเริ่มงานด้าน Radio-immunoassay