รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสมใจ หวังศุภชาติ

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสมใจ หวังศุภชาติ
(1
ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 30 กันยายน พ.ศ. 2552)

 

pic13สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย

ในปี พ.ศ. 2544 มีการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์เต้านม Digital Stereotactic System ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้ในการชี้ ตำแหน่งรอยโรคก่อนการผ่าตัดโดยการใส่ลวด (wire localization guidance) โดยให้ผู้ป่วยนอนในท่านอนคว่ำ พร้อมเครื่องตัดดูดเนื้อเยื่อเต้านมด้วยระบบสุญญากาศโดยแทงเข็มเพียงครั้งเดียว (Mammotome)

ในปี พ.ศ. 2545 มีการติดตั้งระบบศูนย์เก็บข้อมูลภาพทางการแพทย์ หรือ Picture Archiving Communication System (PACS) เป็นศูนย์เก็บข้อมูลภาพการวินิจฉัยกับผู้ป่วยจากเครื่องเอกซเรย์ระบบดิจิทัลทั้งหมด

ในปี พ.ศ. 2546 สาขารังสีวิทยาวินิจฉัยได้พัฒนางานทางด้านเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โดยติดตั้งเครื่อง Multislice CT จำนวน 2 เครื่อง ซึ่งเป็นชนิด 4 slices และ 16 slices เพื่อทดแทนเครื่องเดิม ซึ่งทำให้สามารถเริ่มการตรวจเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ของหัวใจและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ (Cardiac & Coronary CT Angiography) การหาปริมาณหินปูน ที่หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (Calcium Score) การตรวจภายในของลำไส้ใหญ่ (CT Colonography) รวมทั้งการตรวจ 3 มิติ ของอวัยวะอื่นๆ และการตรวจ 4 มิติ (การบีบตัว) ของหัวใจอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2548 มีการจัดซื้อเครื่อง Computed Radiography เพื่อใช้ในหน่วยเอกซเรย์ที่ห้องฉุกเฉินและมีการ ติดตั้งใช้งานเครื่อง MRI 1.5 Tesla เครื่องที่ 2 เพื่อขยายงาน Functional MRI และ Cardiac MRI ที่อาคารอภันตรีปชา ชั้น 1

ในปี พ.ศ. 2549 มีการจัดซื้อเครื่อง Computed Radiography เพื่อใช้ที่หน่วยเอกซเรย์ อาคาร ภปร. ชั้น 4, อาคาร สก. ชั้น 4 และอาคารสวัสดิ์ – ล้อมฯ ชั้น 1 โดยเครื่อง Computed Radiography ที่ใช้ในหน่วยเอกซเรย์ อาคาร ภปร. ชั้น 4 ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น Single Shot Subtraction Computed Radiography (เป็นเทคโนโลยีที่อาศัยการ ถ่ายภาพเอกซเรย์เพียงครั้งเดียวลงบน image plate 2 แผ่นและสามารถเลือกข้อมูลให้แสดงเป็นภาพ soft tissue และ/หรือ bone ก็ได้) และเป็นเครื่องแรกในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2549 มีการปรับปรุงพื้นที่ของอาคารสวัสดิ์ – ล้อม โอสถานุเคราะห์ ชั้น 1 ปีกซ้าย เพื่อใช้เป็นพื้นที่ ติดตั้งเครื่อง PET – CT (Positron EmissionTomography – Computed Tomography) และเป็นหน่วยงาน อัลตราซาวนด์สำหรับผู้ป่วยใน และการตรวจ Doppler Ulrasonography

ในปี พ.ศ. 2550 มีการจัดซื้อเครื่อง Computed Radiography เพิ่มเติมอีก 1 เครื่องเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้ งานที่หน่วยเอกซเรย์อาคาร ภปร. ชั้น 4

ในปี พ.ศ. 2550 มีการขยายพื้นที่ระหว่างอาคารสวัสดิ์ – ล้อม โอสถานุเคราะห์ และอาคารจุลจักรพงษ์ เพื่อใช้ เป็นศูนย์ลงทะเบียนและการรับนัดผู้ป่วยฝ่ายรังสีวิทยาของสาขารังสีวิทยาวินิจฉัยและสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ พร้อมโถง ที่นั่งคอยของผู้ป่วยของฝ่ายรังสีวิทยาที่มารับการตรวจวินิจฉัยทั้งหมด ซึ่งเมื่อมีการขยายพื้นที่ของอาคารโปษยานนท์ ชั้น 1

ในปี พ.ศ. 2551 ก็ได้ทำการย้ายส่วนลงทะเบียนผู้ป่วยสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ไปอยู่ที่อาคารโปษยานนท์

ในปี พ.ศ. 2551 มีการจัดซื้อรถเอกซเรย์ระบบดิจิทัล เพื่อบริการการถ่ายภาพรังสีปอดในโครงการตรวจสุขภาพ นอกสถานที่จำนวน 2 คันเพื่อทดแทนรถเอกซเรย์คันเดิมที่เป็นระบบแอนะล็อกซึ่งมีอยู่เดิม 1 คันโดยมีระบบคอมพิวเตอร์ แม่ข่ายและระบบ PACS แยกต่างหากจากระบบหลักของฝ่ายรังสีวิทยาซึ่งอยู่ที่อาคารสวัสดิ์ – ล้อมฯ ชั้น 1 และได้ทำการ ติดตั้งเครื่องเอกซเรย์เต้านมระบบ 3 มิติ (Digital Breast Tomosynthesis) เป็นเครื่องแรกของโลกซึ่งเป็นเครื่องที่ สามารถให้ความละเอียดของภาพทุก 1 มิลลิเมตร เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการวินิจฉัยที่ดีและมีความถูกต้องแม่นยำ ยิ่งขึ้น

ในปี พ.ศ. 2551 มีการจัดซื้อเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดระบบดิจิทัลชนิดระนาบเดี่ยว (Philips รุ่น Allula-Xper FD20) เพื่อทดแทนเครื่องเดิม (GE Advantx) ที่อาคารนราธิป พงศ์ประพันธ์ – สุพิณชั้น 1 โดยเครื่องเอกซเรย์เครื่องนี้ สามารถสร้างภาพ 3 มิติได้เหมือนภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

ในปี พ.ศ. 2552 มีการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์เต้านม Digital Stereotactic System ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้ในการชี้ ตำแหน่งรอยโรคก่อนการผ่าตัดโดยการใส่ลวด (wire localization guidance) โดยให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งพร้อมเครื่อง ตัดดูดเนื้อเยื่อเต้านมด้วยระบบสุญญากาศโดยแทงเข็มเพียงครั้งเดียว (vacuum assisted biopsy) ที่สามารถได้ปริมาณ ชิ้นเนื้อมาใช้ในการวิเคราะห์มากขึ้นและรวดเร็วขึ้น

ในปี พ.ศ. 2552 มีการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์และฟลูออโรสโคปีระบบดิจิทัล (Digital Fluoroscopy and Radiography) จำนวน 1 เครื่อง ที่อาคาร สก. ชั้น 4 เพื่อทดแทนเครื่องเก่าที่เป็นระบบแอนะล็อกที่ใช้งานมานานมากกว่า 10 ปี

สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา

  • ในปี พ.ศ. 2547 มีการเปลี่ยนชื่อหน่วยงานจาก “สาขารังสีรักษา” เป็น “สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา”
  • ในปี พ.ศ. 2547 – 2548 มีการต่อเติมอาคารเอลิสะเบธ จักรพงษ์ เพื่อติดตั้งเครื่องฉายรังสีชุด 3 – 4 มิติ ซึ่งประกอบไปด้วย
    • เครื่องเร่งอนุภาค จำนวน 2 เครื่อง
    • เครื่องจำลองการฉายรังสีด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Simulator) ถ่ายภาพ 4 มิติจำนวน 1 เครื่อง
    • เครื่องจำลองการฉายรังสี (Simulator) จำนวน 1 เครื่อง
    • เครื่องวางแผนการรักษา จำนวน 2 เครื่อง
    • ระบบเครือข่ายพร้อม work station เพื่อใช้สำหรับดูภาพและข้อมูลผู้ป่วย จำนวน 6 เครื่อง
  • ในปี พ.ศ. 2548 เริ่มมีการฉายรังสีด้วยเทคนิค 3D Conformal, Dynamic Arc, Intensity Modulated Radiotherapy และ 4D Gating

สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์

ในปี พ.ศ. 2548 มีการจัดซื้อเครื่องตรวจความหนาแน่นของกระดูกโดยใช้รังสีเอกซ์เครื่องที่ 4 เพื่อทดแทน เครื่องที่สองที่หมดอายุการใช้งานโดยใช้เงินทุนหมุนเวียนหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์

ในปี พ.ศ. 2549 มีการปรับปรุงพื้นที่ของอาคารสวัสดิ์ – ล้อม โอสถานุเคราะห์ ชั้น 1 ปีกซ้ายเพื่อรองรับการ จัดซื้อและติดตั้งเครื่อง PET – CT เพื่อการตรวจวินิจฉัยระดับการทำงานของเซลล์ เพื่อตรวจหาเซลล์ที่ต้องการใช้

พลังงานสูง (high metabolism) เช่น เซลล์มะเร็ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้ในการวินิจฉัยบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย บริเวณสมองที่ทำให้เกิดการชักหรือโรคสมองเสื่อมและใช้งานร่วมกับสาขารังสีรักษาและ มะเร็งวิทยาเพื่อการวางแผนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ในปี พ.ศ. 2551 มีการปรับปรุงต่อเติมและขยายพื้นที่ชั้น 1 ของอาคารโปษยานนท์และมีการย้ายเครื่องตรวจหา ความหนาแน่นของกระดูก (Bone Densitometers) ทั้งหมดจากอาคารล้วน – เพิ่มพูล ว่องวานิช ชั้น 2 ลงมาอยู่ในส่วน พื้นที่ขยายของอาคารโปษยานนท์