สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย
ในปี พ.ศ. 2552 มีการจัดซื้อทดแทนระบบ PACS เดิม รวมทั้งได้จัดซื้อระบบ RIS (Radiology Information System) เพิ่มเติมและขยายงานการจัดการภาพทางการแพทย์ให้ครอบคลุมทั้งภายในฝ่ายรังสีวิทยาและภายนอกฝ่าย รังสีวิทยา โดยได้ทำการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่อาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ – สุพิณ ชั้น 2 โดยระบบเดิมที่ ติดตั้งที่อาคารจุลจักรพงษ์ ชั้น 4 ยังคงถูกใช้งานในสถานะ back up
ในปี พ.ศ. 2553 สาขารังสีวิทยาวินิจฉัยได้รับงบประมาณและพัฒนางานทางรังสีวิทยาวินิจฉัยมีรายละเอียด ดังนี้
ในปี พ.ศ. 2554 สาขารังสีวิทยาวินิจฉัยได้รับงบประมาณและมีการพัฒนางานทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัย ดังนี้
ในปี พ.ศ. 2555 สาขารังสีวิทยาวินิจฉัยได้รับงบประมาณและมีการพัฒนางานทางรังสีวิทยาวินิจฉัย ดังนี้
ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2556 เริ่มมีการขยายงานด้านการตรวจทางรังสีวิทยาวินิจฉัยที่ชั้น 1 อาคาร 14 ชั้น ติดกับ อาคารนวมินทร์ฯ โดยเริ่มเปิดให้บริการการตรวจทางด้าน MRI ก่อนเป็นอันดับแรกด้วยเครื่อง MRI 1.5 Tesla จำนวน 2 เครื่อง โดยเครื่อง MRI เครื่องหนึ่งเป็นเครื่อง MRI ที่ให้บริการทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัย และอีกเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องที่ใช้ ร่วมกับสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ซึ่งเป็นเครื่อง MRI ที่สามารถจำลองการฉายรังสีเพื่อการรักษา หลังจากนั้นไม่นาน จึงเริ่มเปิดการให้บริการการตรวจทางด้านเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จำนวน 1 เครื่องซึ่งเป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ที่มีความโดดเด่นทางด้านการลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ การตรวจโดยใช้เทคโนโลยี dual energy ซึ่งมีประโยชน์ใน การใช้วิเคราะห์ชนิดของนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ การศึกษาด้าน perfusion การศึกษาโรคเกาต์ นอกจากนี้ยัง สามารถใช้ในการลด artifact ที่เกิดจากการใส่ prosthesis ในผู้ป่วย ในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกันได้เริ่มขยายโครงข่าย แบบไร้สายของระบบ PACS และ RIS ที่ครอบคลุมอาณาบริเวณหอผู้ป่วยอาคาร ภปร. และอาคาร สก. ทั้งหมด
ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2556 งานด้านการตรวจทางรังสีวิทยาวินิจฉัยที่ชั้น 1 อาคาร 14 ชั้นได้เปิดให้บริการทาง ด้านการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์และฟลูออโรสโคปีระบบดิจิทัล (Digital Fluoroscopy and Radiography) ที่ใช้ flat panel detector จำนวน 1 เครื่อง เครื่องเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิทัล (Full-field digital mammography) จำนวน 1 เครื่อง และเครื่องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงชนิดสี (Color-Doppler Ultrasound) จำนวน 4 เครื่องและในช่วงระยะ เวลาใกล้เคียงกันยังได้ทำการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์ระบบดิจิทัลเพื่อใช้ในการตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ (Excretory Urography) เพื่อทดแทนเครื่องเก่าที่เป็นระบบแอนะล็อกที่ใช้งานมานานตั้งแต่เมื่อครั้งเปิดอาคาร ภปร. เมื่อปี พ.ศ. 2532 และได้ทำการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์และฟลูออโรสโคปีระบบดิจิทัล (Digital Fluoroscopy and Radiography) ที่ใช้ flat panel detector จำนวน 1 เครื่อง ที่อาคาร ภปร. ชั้น 4 เพื่อทดแทนเครื่องเก่าที่เป็นระบบ image intensifier ที่ใช้งานมานานมากกว่า 10 ปี และนอกจากนี้ยังได้จัดซื้อชุดรับและแปลงสัญญาณภาพเป็นระบบดิจิทัลชนิด flat panel detector kit เข้ามาใช้งาน เพื่อเสริมระบบ Computed Radiography ที่หน่วยงานเอกซเรย์เคลื่อนที่ในหอผู้ป่วยจำนวน 4 ชุด
สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
ในปี พ.ศ. 2552 มีการเปลี่ยนเครื่องใส่แร่อัตราปริมาณรังสีสูงอิริเดียม 192 เป็นเครื่องใส่แร่แบบ 3 มิติ
ในปี พ.ศ. 2552 – 2553 มีการเปลี่ยนเครื่องเร่งอนุภาคเครื่องแรก (Clinac 1800) เป็นเครื่องเร่ง อนุภาคแบบปรับความเข้ม 1,000 องศา (Rapid Arc) พร้อมระบบภาพนำวิถีแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ
ในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการพัฒนาดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
ในปี พ.ศ. 2555 ได้มีการพัฒนาดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
ในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการพัฒนาดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
ในปี พ.ศ. 2552 มีการจัดซื้อเครื่อง SPECT-CT (Single Photon Emission Computed Tomography- Computed Tomography) เพื่อทดแทนเครื่อง SPECT เครื่องแรกที่ใช้งานมานานถึง 21 ปี โดยเครื่อง SPECT-CT นี้ทำให้การตรวจวินิจฉัยโรคสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์มีประสิทธิภาพและมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ในปี พ.ศ. 2554 มีการจัดซื้อเครื่องตรวจความหนาแน่นของกระดูกโดยใช้รังสีเอกซ์เครื่องที่ 5 เพื่อทดแทน เครื่องที่ 3 ที่หมดอายุการใช้งาน โดยใช้เงินทุนหมุนเวียนเวชศาสตร์นิวเคลียร์