ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณหญิงนิตยา สุวรรณเวลา

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณหญิงนิตยา สุวรรณเวลา
(30
พฤศจิกายน พ.ศ.2533 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541)

 

pic11สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย    

ในปี พ.ศ. 2535 มีการก่อสร้างอาคาร “อภันตรีปชา” หลังใหม่ จำนวน 5 ชั้น เพื่อทดแทนอาคารอภันตรีปชา หลังเดิม เพื่อติดตั้งเครื่องสร้างภาพด้วยคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก (Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI) ซึ่งนับเป็น เครื่อง MRI 1.5 Tesla เครื่องแรกในประเทศไทย พร้อมกันนี้ยังได้ติดตั้งเครื่องเอกซเรย์ Digital Subtraction Angiography เครื่องแรก ณ อาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ – สุพิณ

ในปี พ.ศ. 2538 มีการย้ายหน่วยงานเอกซเรย์กุมาร จากอาคารจิรกิติ มายังอาคาร สก. ชั้น 4

สาขารังสีรักษา (สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาในปัจจุบัน)

ในปี พ.ศ. 2538 มีการติดตั้งเครื่องใส่แร่ควบคุมระยะไกลแบบอัตราปริมาณรังสีสูง Ir – 192 พร้อมเครื่อง เอกซเรย์แบบ C – Arm เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยในระยะเวลาสั้น โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล

สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์

ในปี พ.ศ. 2535 เริ่มมีการตรวจความหนาแน่นของกระดูก โดยใช้รังสีเอกซ์ที่อาคารล้วน – เพิ่มพูล ว่องวานิช ชั้น 2 เป็นแห่งแรกในประเทศไทยและมีการจัดซื้อเครื่อง SPECT เครื่องที่ 2 โดยติดตั้งไว้ที่อาคารโปษยานนท์ ชั้น 1

ในปี พ.ศ. 2537 สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ได้รับบริจาคเครื่องตรวจความหนาแน่นของกระดูกโดยใช้รังสีเอกซ์ เครื่องที่ 2 จากพระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ)

เนื่องจากสภากาชาดไทยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงาน จึงได้ทำการยกเลิก “แผนก” โดยใช้คำว่า “ฝ่าย” แทน ในปี พ.ศ. 2540 หน่วยงานจึงเปลี่ยนชื่อจาก“ภาควิชา/แผนก รังสีวิทยา”เป็น “ภาควิชา/ฝ่ายรังสีวิทยา” นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยในส่วนของฝ่ายรังสีวิทยาซึ่งขึ้นตรงต่อ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในแต่ละสาขาด้วย เนื่องจากได้ขยายงานย่อยๆ ต่างๆ เรื่อยมาจนกระทั่งเป็นโครงสร้างที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (อนุมัติปี พ.ศ. 2555)