หน่วยรังสีวินิจฉัย (สาขารังสีวิทยาวินิจฉัยในปัจจุบัน)
ในปี พ.ศ. 2525 มีการเปิดโรงเรียนรังสีเทคนิคระดับอนุปริญญา สังกัดแผนกรังสีวิทยา (และได้เปลี่ยนเป็น “ฝ่ายรังสีวิทยา” ในปี พ.ศ. 2540) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยโรงเรียนดังกล่าวตั้งอยู่ที่ชั้น 4 อาคารล้วน – เพิ่มพูล ว่องวานิช ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับสำนักงานหน่วยมะเร็งวิทยา (Medical Oncology) ภาควิชาอายุรศาสตร์ ในขณะนั้น ซึ่งสถานที่ดังกล่าวได้กลายเป็นหน่วยมะเร็งวิทยาฯ ทั้งชั้นแล้วในปัจจุบัน หลังจาก ที่โรงเรียนรังสีเทคนิคฯ ได้ปิดการเรียนการสอนในปี พ.ศ. 2555
หน่วยรังสีรักษา (สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาในปัจจุบัน)
ในปี พ.ศ. 2528 มีการพัฒนาการใส่แร่แบบมือ มาเป็นแบบควบคุมระยะไกล โดยจัดซื้อแร่ซีเซียม-137 จากเครื่องใส่แร่อัตราปริมาณรังสีสูง
ในปี พ.ศ. 2528 มีการเปลี่ยนชื่อหน่วยงาน 3 หน่วยงานจาก “หน่วยรังสีวินิจฉัย” เป็น “สาขารังสีวินิจฉัย” ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น “สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย” เพื่อให้สอดคล้องกับการตรวจทางรังสีวิทยาที่มีทั้งการใช้รังสีเอกซ์และ ที่ไม่ใช้รังสีเอกซ์ “หน่วยรังสีรักษา” เป็น “สาขารังสีรักษา” “หน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์” เป็น “สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์”