สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย
ในปี พ.ศ. 2531 สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย ได้รับบริจาคเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เครื่องที่ 2 จากรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเครื่องจากบริษัทโตชิบา TCT 400 และติดตั้งไว้ที่อาคารจุลจักรพงษ์
ในปี พ.ศ. 2532 สาขารังสีวิทยาวินิจฉัยได้เปิดหน่วยงานเอกซเรย์เต้านม (Mammography) และหน่วยงาน อัลตราซาวนด์ที่อาคารล้วน – เพิ่มพูล ว่องวานิช ชั้น 2
หน่วยรังสีรักษา (สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาในปัจจุบัน)
ในปี พ.ศ. 2531 – 2532 มีการก่อสร้างอาคาร ล้วน – เพิ่มพูล ว่องวานิช และจัดตั้งศูนย์ป้องกันและรักษาโรค มะเร็ง โดยได้ทำการย้าย Tumor clinic หอผู้ป่วย และห้องผ่าตัดใส่แร่ จากอาคารสวัสดิ์ – ล้อมฯ มาอยู่ที่อาคารนี้
ในปี พ.ศ. 2532 – 2533 มีการก่อสร้างอาคารเอลิสะเบธ จักรพงษ์ พร้อมติดตั้งเครื่องฉายรังสีซึ่งประกอบไปด้วย
สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
ในปี พ.ศ. 2531 มีการจัดซื้อเครื่อง SPECT (Single Photon Emission Computed Tomography) เครื่องแรก โดยงบประมาณเงินทุนหมุนเวียนหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์และเงินงบประมาณของสภากาชาดไทย โดยได้ติดตั้งไว้ที่อาคารโปษยานนท์ ชั้น 1