หน่วยรังสีวินิจฉัย (สาขารังสีวิทยาวินิจฉัยในปัจจุบัน)
ในปี พ.ศ. 2515 เริ่มมีการตรวจวินิจฉัยท่อน้ำดีอุดตันโดยวิธี Percutaneous Transhepatic Cholangiography (PTC) โดยใช้เครื่องเอกซเรย์ Fluoroscope
หน่วยรังสีรักษา (สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยาในปัจจุบัน)
ในปี พ.ศ. 2517 มีการปรับปรุงอาคารโคบอลต์และก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นอาคารขนาด 3 ชั้นและมีการ เปลี่ยนชื่อเป็นอาคารอับดุลราฮิมตามชื่อของผู้บริจาค และได้ยกเครื่องโคบอลต์เครื่องแรกจากสหภาพสาธารณรัฐ สังคมนิยมโซเวียต มอบให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อใช้เป็นเครื่องมาตรฐานในการวัด ปริมาณรังสีซึ่งได้จัดให้มีพิธีมอบโดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยและมีการติดตั้งเครื่องโคบอลต์ 60 (Eldorado 78) ขนาด 6,000 คูรี โดยได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
หน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ในปัจจุบัน)
ในปี พ.ศ. 2516 มีการจัดสร้างอาคารโปษยานนท์เพื่อขยายงานด้านการเรียนการสอนและงานบริการ ทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โดยย้ายหน่วยไอโซโทปเดิมจากอาคารสวัสดิ์ – ล้อมฯ ชั้น 3 ไปยังอาคาร 4 ชั้นของอาคาร โปษยานนท์และเริ่มปฏิบัติงานที่อาคารใหม่นี้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2518
ในปี พ.ศ. 2520 หน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ได้รับงบประมาณแผ่นดินในการจัดซื้อเครื่อง Gamma Camera เพื่อใช้ในการถ่ายภาพตรวจอวัยวะต่างๆ
ในปี พ.ศ. 2520 มีการเปลี่ยนชื่อ “หน่วยไอโซโทปส์” เป็น “หน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์”